Wednesday, October 30, 2013

สไลด์คำบรรยายเรื่อง การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้งานวิจัย


Ict – kms supports for researcher สไลด์คำบรรยายเรื่อง การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้งานวิจัย การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1 โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2556 จัดโดยฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม.

Tuesday, October 29, 2013

นโยบายและระบบการวิจัยของประเทศ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

นโยบายและระบบการวิจัยของประเทศ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
โดยนายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ


 สรุปประเด็นที่น่าสนใจ
วิจัยเป็นเครื่องมือในการเติมเต็มองค์ความรู้ที่ยังขาดอยู่
ประเด็นการวิจัยมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ/สังคม อาทิเช่น
-เศรษฐกิจ/การเงิน
-โรคติดต่อ
-พลังงาน
-โครงสร้างประชากร กำลังเข้าสู่ยุคผู้สูงอายุ
-อาหาร
-มลภาวะ ผลจากการกินอยู่ิ
-  การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ (ไฟป่า  พายุ  น้ำิท่วม  ภัยแล้ง  สึนามิ แผ่นดินไหว  น้ำแข็งขั้วโลกละลาย


สภาพความรู้ที่ได้จากการวิจัย  ถ่ายทอด
- สังคมที่ต้องการความรวดเร็ว  แ็ข่งขัน  
-การ เลียนแบบ  
-ถ่ายทอดองค์ความรู้ในรูปของเอกสาร หนังสือ ตำรา


หน่วยงานวิจัย ควรต้องมี
- มาตรฐาน (การทำงานวิจัย  ผู้วิจัยต้องมีพื้นฐานการทำงานวิจัยที่เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะงานวิจัยระดับพื้นฐานต้องได้คุณภาพ)
-สัมฤทธิผล


เครือข่ายองค์การบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช)
-วช
-สกว
-สวก
-สวรส
-สกอ
-สวทช
-สวทน
สถานภาพปัญหาเมื่อก่อนของเครือข่าย ทุกหน่วยงานปฏิบัติงานแข่งกัน ยังไม่มีเอกภาพ  ต้องเข้าใจว่าทุกศาสตร์ต้องเป็น multi-disciplinary ไม่ใช่ทำงานแบบหน้าเดียว ต้องมองให้ครอบคลุมและร่วมมือกันมากกว่านี้ จะให้ทุกคนเข้าไปมีส่วนร่วมกันอย่างไร
ปัจจุบัน เริ่มคุยกันเป็นเครือข่ายและเริ่มวางแผนร่วมกันและต้องการขยายเครือข่ายไปเป็นกลุ่มย่อยอื่นๆ ร่วมกันเพื่อปฏิรูปการวิจัย โดยหน่วยงาน วช และ 5ส


ผลจากการปฎิรูประบบวิจัย
-มีการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีวิจัยชัดเจน กำหนดกลุ่มต่างๆให้ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน เช่น มหาวิทยาลัยอยู่ในกลุ่มผู้ใช้งานวิจัย
-ปฏิรูประบบบริหารจัดการงานวิจัย > วิจัยมุ่งเป้า เป็นรายประเด็น เช่น ปี 2555 มี 5 เรื่อง เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง การท่องเที่ยว โลจิสติก ตั้งงบจัดสรร งปม.ให้ดำเนินการโดยตรง แต่ก่อน วช.กำหนดเอง แต่ปัจจุบันมอบให้หน่วยงานที่เชี่ยวชาญไปดำเนินการ วช.เป็นผู้อำนวยการ ต้นน้ำและปลายน้ำ มีคณะดำเนินงานร่วมกันเป็นภาคีวิจัย โดยให้หน่วยงานต่างๆที่มีแผนงานวิจัยมาร่วมวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธและยุทธศาสตร์เฉพาะทางร่วมกัน เป็นชุดเดียวกัน ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติร่วมกัน


-กำหนดงบประมาณวิจัยล่วงหน้าอย่างท้าทาย
-มีการกำหนดมาตรฐานการวิจัยที่ครอบคลุม
-มีการติดตาม


การจัดทำฐานข้อมูล 5 ระบบ
-ฐานข้อมูลผลงานที่เสร็จแล้ว TNRR
-ฐานข้อมูลงานวิจัยที่กำลังดำเนินการ
-ฐานข้อมูลนักวิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิ
-ฐานข้อมูลที่ไปสู่การใช้ประโยชน์
-Single Window System รวมทุกอย่างในหน้าเดียว แบบฟอร์มขอทุนเดียวกันทุกแหล่งทุน เป็น one stop service

Monday, October 28, 2013

วิจัยเรื่องอะไรดี? ...เขียนโครงการวิจัยอย่างไร จึงได้ทุน


โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ปราณี กุลละวณิชย์
ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา (พ.ศ. 2556-)
ทุนวิจัยกับการเลือกสมัครรับทุน
ให้ศึกษาเป้าประสงค์ของทุน
-การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า(เรื่องลิขสิทธิ์การเผยแพร่ผลงานวิจัย
-ผลวิจัยที่เป็นประโยชน์ใช้ได้จริง
-ผลวิจัยที่เป็นประโยชน์ใช้ได้จริงในวงกว้าง
-ผลวิจัยของตีพิมพ์ในวารสาร
รูปแบบผลของการวิจัย
-รายงานการวิจัย(Research Report) ต้องมีการเผยแพร่ในวารสารด้วย
-บทความวิัจัย(Article) ส่วนใหญ่เป็นสายวิทยาศาสตร์ ไม่ต้องเขียนรายงาน แต่ต้องเขียนย่อสรุปกระบวนการวิจัย
การเผยแพร่ผลการวิจัย
-ในวารสารสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์
-ในหนังสือรวมบทความ(Monographs)
-ในเอกสารประมวลผลการประชุมทางวิชาการ(proceeding)
รูปแบบโครงการที่เสนอขอรับทุน
เป็นไปตามประกาศของผู้ให้ทุน

-ความเป็นมาของปัญหา/ประเด็นปัญหา(ทำไมผู้วิจัยจึงสนใจปัญหานี้ ศึกษาวิจัยแล้วได้อะไร
-ทบทวนวรรณกรรมเบื้องต้น(เหตุผลที่จะต้องศึกษา)
-วัตถุประสงค์ของการวิจัย
-คำถาม/สมมติฐานของการวิจัย
-ขอบเขตการวิจัย
-ข้อมูลที่จะใช้ในการศึกษาวิจัย
-วิธีดำเนินการวิจัย ทฤษฎีที่ใช้ เครื่องมือที่ใช้
-ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ตารางเวลาในการดำเนินงาน
-งบประมาณ
-ประโยชน์
-Reference เอกสารอ้างอิง
-ประวัติการทำงานของผู้วิจัย

การตัดสินทุนวิจัย
-ตอบเป้าประสงค์ของทุนหรือไม่
-ความชัดเจนของหัวข้อวิจัย(โจทย์) ประเด็นปัญหา)
-ชื่อเรื่องวิจัย
-วัตถุประสงค์
-สมมติฐาน
-แนวทางวิจัย
-ความเป็นไปได้
-ความรู้ของผู้วิจัย ประสบการณ์ในการวิจัยของผู้วิจัย
-เวลาของผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย
-เวลาของโครงการ
-ขอบเขตของโครงการ

แนวทางงานวิจัยทางทัศนศิลป์:สร้างวิชาการงานศิลป์ ของวช.
กรอบการวิจัย
1.การวิจัยเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปกรรมเชิงวิชาการ
2.การศึกษาผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมในอดีตที่ทรงคุณค่า
3.การรวบรวมผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมอย่างมีระบบ พร้อมองค์ความรู้
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เกิดผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมแขนงต่างๆ
2. เพื่อรวบรวมข้อมูลในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม
3. เพื่อจัดระบบข้อมูลผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปกรรม
ผลผลิต
1. ทำให้เกิดผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมสาขาต่างๆ
2. ทำให้เกิดการแสดงผลงานศิลปกรรมต่อสาธารณชนในรูปแบบต่างๆ
3. ทำให้เกิดศิลปินชั้นนำสาขาต่างๆ ซึ่งจะพัฒนาเป็นบุคลากรหลักในวงการศิลปกรรมต่อไป

สรุปประเด็นปัญหาในการทำวิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

โดย ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ

ปัญหา/ข้ออ้างที่พบ 
-ไม่ชอบ ไม่สนใจ ไม่เห็นความจำเป็น
-สนใจ แต่ไม่มีเวลา เพราะสอนและบริการวิชาการอย่างหนัก
-อยากทำ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร -ไม่มีทุนวิจัยที่เพียงพอ/ไม่อยากขอทุนเพราะกลัว ภาระ -พยายามทำ แต่ไม่มีคุณภาพ(ข้อเสนอโครงการ ผลงาน)
-ไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างเหมาะสม
ที่มาของปัญหา
-ธรรมชาติของการวิจัยในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ค่อนข้างเป็นนามธรรม ไม่มีกรอบที่ชัดเจนเหมือนทางสาขาวิทยาศาสตร์ มีคำตอบที่หลากหลาย หาข้อสรุปได้ยาก
-ธรรมชาติของบุคลากรในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
-เป็นนักคิดและนักฝันมากกว่านักทำ
-ชอบจินตนาการแบบเลิศหรูแต่ไร้ระเบียบ
-นิยมความพอเพียงด้านวิชาการมากกว่าการแสวงหาอย่างต่อเนื่อง
-มีความเป็นปัจเจกบุคคลสูง
-ภูมิใจและหลงตัวเองกับความเป็นคุณครูสุดประเสริฐ
-นิยมเขียนตำรามากกว่าทำวิจัย
-สภาพและบรรยากาศไม่เอื้ออำนวย
-อาจารย์ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างและสร้างสังคมการวิจัย ให้ตัวอย่างที่ดี
-ขาดตัวอย่างและที่พึ่งทางวิชาการที่ดี ทางแก้-อาจารย์ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างและสร้างสังคมการวิจัย ให้ตัวอย่างที่ดี
-อยู่นอกกระแสการวิจัย ควรหมั่นอยู่ในแวดวงวิจัย
-ขาดระบบการบริหารจัดการด้านกิจการวิจัยที่ดีพอ
-ขาดปัจจัยเกื้อหนุนด้านต่างๆที่จำเป็น
-กฏระเบียบการวิจัยไม่เอื้อต่อสาขาวิชา การแก้ปัญหาระดับหน่วยงาน
-ปรับกฏระเบียบให้เหมาะสมกับลักษณะการวิจัย(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
-การจัดสัดส่วนภาระงานด้านการสอนและการวิจัยให้เหมาะสม
-จัดตั้งหน่วย/กลุ่มช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพหลายระดับ(กัลยาณมิตร)
-ส่งเสริมความรู้ด้านการวิจัยอย่างต่อเนื่องและเจาะลึกด้านเนื้อหา
-สนับสนุนการวิจัยแบบกลุ่มวิจัย มีหัวหน้าโครงการ/ผู้ประสานงานที่เข้มแข็ง เช่นแจก ประเด็นไทยศึกษาด้าน….แบ่งกันไปคนละหัวเรื่องที่แตกต่าง เป็นวิจัยกลุ่ม/ชุด รับผิดชอบแบบ 100%
-มีการกำกับดูแล ประเมิน และติดตามอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ(กัลยาณมิตร) จันทรเกษม ….ใครพร้อมที่จะเป็นพ่อไก่แม่ไก่ ยกมือขึ้น…..
-จัดเวทีให้นำเสนอรายงานความก้าวหน้าและผลงานวิจัยเป็นการภายใน
-จัดทำระบบเบิกจ่ายเงินทุนวิจัยที่คล่องตัวและระบบรายงานการเงิน
-สร้างขวัญและกำลังใจ โดยจัดสรรรางวัลและประกาศเกียรติคุณประจำปี ตามเงื่อนไขการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติหรือเป็นที่ยอมรับ
กระตุ้นและสร้างความพร้อมระดับหน่วยงาน
-สร้างความเชื่อมโยงกับเครือข่ายวิจัยภายนอก
-เชิญแหล่งเงินทุนระดับชาติมาประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลเชิงลึก
-จัดทำคู่มือแหล่งเงินทุนและข้อกำหนดต่างๆของแต่ละแหล่งเงินทุน
-ประชาสัมพันธ์เพื่่อกระตุ้นเตือนเป็นระยะๆอย่างสม่ำเสมอ
สร้างความพร้อมระดับบุคคล -สร้างความตระหนักในหน้าที่การเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยตามภารกิจ
-สร้างนิสัยช่างสังเกต
-สร้างนิสัยถาม คำถามประเภท ทำไม
-สร้างนิสัยคิดและทำอย่างเป็นระบบ
-สร้างนิสัยตรงต่อเวลาและความสามารถในการจัดเวลา
-สร้างนิสัยการทำงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
-สำรวจความสนใจที่แท้จริงของตนเอง(วิชาการ)
-แสวงหากัลยาณมิตรด้านวิจัย
-สร้างความกล้าที่จะขอทุนวิจัย
-สร้างความกล้าและอดทนสำหรับการวิพากษ์วิจารณ์
-เรียนรู้เรื่องสถิติ การนำเสนอด้วยตาราง(Table)และภาพ
-เรียนรู้การสืบค้นข้อมูลออนไลน์และการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต
ทำอะไรบ้างก่อนขอทุน

-ทำแผนที่ความคิด/ลายแทงแสดงลำดับงาน(Mapping)
-เขียนข้อเสนอแนวคิด(Concept Paper)
-เขียนข้อเสนอโครงการเต็มรูป(Full Paper)
-ร่วมประชุมนำเสนอโครงการ(Oral Presentation)
ทำอะไรบ้างหลังได้ทุน
-เปิดบัญชีออมทรัพย์ของโครงการ
-ทำสัญญารับทุนกับเจ้าของทุน
-ร่วมกิจกรรมของหน่วยงานผู้ให้ทุน
-ดำเนินการวิจัยตามที่เสนอไว้อย่างซื่อสัตย์
-จัดทำรายงานความก้าวหน้าและรายงานการเงินตามงวดเงิน
-จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์และรายงานการเงินตลอดโครงการ
ทำอะไรบ้างเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย
-เขียนเป็นหนังสือและพ/หรือบทความวิจัย(วิชาการ)
-เขียนบทความวิชาการและ/หรือคอลัมน์(ประชาสัมพันธ์)
-นำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับชาติและ/หรือนานาชาติ
-ทำ powerpoint/handout/oral presentation)
-ทำโปสเตอร์ตามข้อกำหนดของผู้จัด(poster presentation)
-ซ้อมการนำเสนอเนื้อหาและการควบคุมเวลา

"องค์ความรู้ใหม่คือ ทอง ของนักวิจัย"

Thursday, October 24, 2013

กำหนดจัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง พัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1

ฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กำหนดจัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง พัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1 ในระหว่างวันที่ 28-30 ตุลาคม 2556 เปลี่ยนสถานที่ไปจัดที่ ห้องประชุมพิมานจันทร์ ชั้น 12 อาคารสำนักงานอธิการบดี ผู้เข้าอบรมในครั้งนี้คืออาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่มีอายุงานช่วงระหว่าง 2 ปี รวมกว่า 45 คน โดยมีวิทยากรจากและผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์มาให้ความรู้และร่วมทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ให้ผู้เข้าอบรมได้เพิ่มความรู้และทักษะการทำวิจัย อาทิ รศ.ดร.อรพินทร์ พิทักษ์มหาเกตุ จากมหิดล ศาสตราจทารย์ ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ จากจุฬา ศาสตราจารย์ดร.ปราณี กุลละวณิชย์ ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาปรัชญา และท่านรองกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรให้แก่อาจารย์ผู้เข้าสัมมนา

กำหนดการอบรม
โครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัย “นักวิจัยรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1”
วันที่ 28 – 30 ตุลาคม 2556 ณ ห้องประชุมพิมานจันทร์ ชั้น 12 อาคารสำนักงานอธิการบดี
มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
วันที่ 28 ตุลาคม 2556
08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 09.30 น. พิธีเปิดโครงการ
กล่าวรายงานโครงการ โดย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กล่าวเปิดงาน โดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
09.30 – 10.15 น. สถิตสำหรับการวิจัย โดย รศ.ดร.อรพินทร์ พิทักษ์มหาเกตุ จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
10.15 – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 – 12.00 น. สถิตสำหรับการวิจัย โดย รศ.ดร.อรพินทร์ พิทักษ์มหาเกตุ จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 15.00 น. ปัญหาในการทำงานวิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
โดย ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ จาก ภาควิชาภาษาศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.30 น. ปัญหาในการทำงานวิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
โดย ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ จาก ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ 29 ตุลาคม 2556
08.30 – 10.15 น. “วิธีการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้รับทุนวิจัย”
โดย ศ.ดร.ปราณี กุลละวณิชย์ ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา
10.15 – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 – 12.00 น. “วิธีการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้รับทุนวิจัย” ต่อ
โดย ศ.ดร.ปราณี กุลละวณิชย์ ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาปรัชญา
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 15.00 น. ผู้เข้าอบรมทดลองเขียนเสนอโครงการวิจัย (research project)
พร้อมซักถามปัญหาในการจัดทำกับวิทยากร โดย ศ.กิตติคุณ ดร.ปราณี กุลละวณิชย์
ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา
15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.30 น. ผู้เข้าอบรมนำเสนอโครงการวิจัย (research project) และรับคำแนะนำ
จากศ.ดร.ปราณี กุลละวณิชย์ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา
วันที่ 30 ตุลาคม 2556
08.30 – 10.15 น. “นโยบายและระบบการวิจัยของประเทศ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” (ต่อ)
โดย นายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
10.15 – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 – 12.00 น. “นโยบายและระบบการวิจัยของประเทศ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์”(ต่อ)
โดย นายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 15.00 น. การใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้งานวิจัย
โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร
15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.30 น. การใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้งานวิจัย (ต่อ)
โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร
16.30 – 17.30 น. พิธีมอบวุฒิบัตรและปิดการอบรม
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...