กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : Student-centred learning
การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายประการได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน (thaicyberu,2556)
กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student-centred learning Process) หมายถึง การจัดการศึกษาที่ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด โดยกระบวนการจัดการศึกษาจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในระดับการอุดมศึกษาตามแนวทางเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งมุ่งพัฒนาความรู้และทักษะทางวิชาชีพ ทักษะชีวิตและทักษะสังคม มีปรากฏในวงการการศึกษาไทย หลายรูปแบบ ดังนี้
1) การเรียนรู้จากกรณีปัญหา (Problem-based Learning : PBL)
เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนคิดและดำเนินการ เรียนรู้ กำหนดวัตถุประสงค์ และเลือกแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะนำ เป็นการส่งเสริมให้เกิดการแก้ปัญหามากกว่าการจำเนื้อหาข้อเท็จจริง เป็นการส่งเสริมการทำงานเป็น กลุ่มและพัฒนาทักษะทางสังคม ซึ่งวิธีการนี้จะทำได้ดีในการจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา เพราะผู้เรียนมีระดับความสามารถทางการคิดและการดำเนินการด้วยตนเองได้ดี เงื่อนไขที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ประกอบด้วยความรู้เดิมของผู้เรียน ทำให้เกิดความเข้าใจข้อมูลใหม่ได้ การจัดสถานการณ์ที่เหมือนจริง ส่งเสริมการแสดงออกและการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การให้โอกาสผู้เรียนได้ไตร่ตรองข้อมูลอย่างลึกซึ้ง ทำให้ผู้เรียนตอบคำถาม จดบันทึก สอนเพื่อน สรุป วิพากษ์วิจารณ์สมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ได้ดี
2) การเรียนรู้เป็นรายบุคคล (individual study)
เนื่องจากผู้เรียนแต่ละบุคคลมีความสามารถในการเรียนรู้ และความสนใจในการเรียนรู้ที่ แตกต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีเทคนิคหลายวิธี เพื่อช่วยให้การจัดการเรียนในกลุ่มใหญ่ สามารถตอบสนองผู้เรียนแต่ละคนที่แตกต่างกันได้ด้วย อาทิ
• เทคนิคการใช้ Concept Mapping ที่มีหลักการใช้ตรวจสอบความคิดของผู้เรียนว่าคิด อะไร เข้าใจสิ่งที่เรียนอย่างไรแล้วแสดงออกมาเป็นกราฟิก
• เทคนิค Learning Contracts คือ สัญญาที่ผู้เรียนกับผู้สอนร่วมกันกำหนด เพื่อใช้เป็นหลักยึดในการเรียนว่าจะเรียนอะไร อย่างไร เวลาใด ใช้เกณฑ์อะไรประเมิน
• เทคนิค Know –Want - Learned ใช้เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ ผสมผสานกับ การใช้ Mapping ความรู้เดิม เทคนิคการรายงานหน้าชั้นที่ให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมา นำเสนอหน้าชั้นซึ่งอาจมีกิจกรรมทดสอบผู้ฟังด้วย
• เทคนิคกระบวนการกลุ่ม (Group Process) เป็นการเรียนที่ทำให้ผู้เรียนได้ร่วมมือกัน แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาให้สำเร็จ ตามวัตถุประสงค์
3) การเรียนรู้แบบสรรคนิยม (Constructivism)
การเรียนรู้แบบนี้มีความเชื่อพื้นฐานว่า “ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้โดยการอาศัย ประสบการณ์แห่งชีวิตที่ได้รับเพื่อค้นหาความจริง โดยมีรากฐานจากทฤษฎีจิตวิทยาและปรัชญา การศึกษาที่หลากหลาย ซึ่งนักทฤษฎีสรรคนิยมได้ประยุกต์ทฤษฎีจิตวิทยาและปรัชญาการศึกษา ดังกล่าวในรูปแบบและมุมมองใหม่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
• กลุ่มที่เน้นกระบวนการรู้คิดในตัวบุคคล (Radical Constructivism or Personal Constructivism or Cognitive Oriented Constructivist Theories) เป็นกลุ่มที่เน้นการ เรียนรู้ของมนุษย์เป็นรายบุคคล โดยมีความเชื่อว่ามนุษย์แต่ละคนรู้วิธีเรียนและรู้วิธี คิด เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
• กลุ่มที่เน้นการสร้างความรู้โดยอาศัยปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social Constructivism or Socially Oriented Constructivist Theories) เป็นกลุ่มที่เน้นว่า ความรู้ คือ ผลผลิตทางสังคม โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นสองประการ คือ
- ความรู้ต้องสัมพันธ์กับชุมชน
- ปัจจัยทางวัฒนธรรมสังคมและประวัติศาสตร์มีผลต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ครูจึงมี บทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
4) การเรียนรู้จากการสอนแบบเอส ไอ พี (SIP)
การสอนแบบเอส ไอ พี เป็นรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นเพื่อฝึกทักษะทางการสอนให้กับ ผู้เรียนระดับอุดมศึกษา สาขาวิชาการศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และความสามารถเกี่ยวกับ ทักษะการสอน โดยผลที่เกิดกับผู้เรียนมีผลทางตรง คือ การมีทักษะการสอน การมีความรู้ ความ เข้าใจเกี่ยวกับทักษะทางการสอนและผลทางอ้อม คือ การสร้างความรู้ด้วยตนเอง ความร่วมมือใน การเรียนรู้ และความพึงพอใจในการเรียนรู้
วิธีการที่ใช้ในการสอน คือ การทดลองฝึกปฏิบัติจริงอย่างเข้มข้น ต่อเนื่อง และเป็นระบบ โดยการสอนแบบจุลภาค มีที่ให้ผู้เรียนทุกคนมีบทบาทในการฝึกทดลองตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการ ฝึก ขั้นตอนการสอน คือ ขั้นความรู้ความเข้าใจ ขั้นสำรวจ วิเคราะห์และออกแบบการฝึกทักษะ ขั้นฝึกทักษะ ขั้นประเมินผล โครงสร้างทางสังคมของรูปแบบการสอนอยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำ ในขณะที่ผู้เรียนฝึกทดลองทักษะการสอนนั้น ผู้สอนต้องให้การช่วยเหลือสนับสนุนอย่างใกล้ชิด สิ่งที่จะทำให้การฝึกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คือ ความพร้อมของระบบสนับสนุน ได้แก่ ห้องปฏิบัติการสอน ห้องสื่อเอกสารหลักสูตรและการสอน และเครื่องมือ โสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
5) การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง (Self-Study)
การเรียนรู้แบบนี้เป็นการให้ผู้เรียนศึกษาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น การจัดการ เรียนการสอนแบบสืบค้น (Inquiry Instruction) การเรียนแบบค้นพบ (Discovery Learning) การเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem Solving) การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) ซึ่งการเรียนการสอนแบบแสวงหาความรู้ด้วยตนเองนี้ใช้ในการเรียนรู้ทั้งที่เป็นรายบุคคล และ กระบวนการกลุ่ม
6)การเรียนรู้จากการทำงาน (Work-based Learning)
การเรียนรู้แบบนี้เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดพัฒนาการทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เนื้อหาสาระ การฝึกปฏิบัติจริง ฝึกฝนทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต ทักษะ วิชาชีพ การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง โดยสถาบันการศึกษามักร่วมมือกับแหล่งงานในชุมชน รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดเนื้อหา กิจกรรม และวิธีการประเมิน
7) การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ (Research–based Learning)
การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยถือได้ว่าเป็นหัวใจของบัณฑิตศึกษา เพราะเป็นการเรียนที่เน้น การแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนโดยตรง เป็นการพัฒนากระบวนการแสวงหาความรู้ และ การทดสอบความสามารถทางการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน โดยรูปแบบ การเรียนการสอนอาจแบ่งได้เป็น 4 ลักษณะใหญ่ ๆ
- การสอนโดยใช้วิธีวิจัยเป็นวิธีสอน
- การสอนโดยผู้เรียนร่วมทำโครงการวิจัยกับอาจารย์หรือเป็นผู้ช่วยโครงการวิจัยของอาจารย์
- การสอนโดยผู้เรียนศึกษา งานวิจัยของอาจารย์และของนักวิจัยชั้นนำในศาสตร์ที่ศึกษา
- การสอนโดยใช้ผลการวิจัย ประกอบการสอน
8) การเรียนรู้ที่ใช้วิธีสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา (Crystal-Based Approach)
การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ความรู้ความคิดด้วย ตนเองด้วยการรวบรวม ทำความเข้าใจ สรุป วิเคราะห์ และสังเคราะห์จากการศึกษาด้วยตนเอง เหมาะสำหรับบัณฑิตศึกษา เพราะผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ มีประสบการณ์เกี่ยวกับศาสตร์ที่ศึกษามา ในระดับหนึ่งแล้ว
วิธีการเรียนรู้เริ่มจากการทำความเข้าใจกับผู้เรียนให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ตาม แนวนี้ จากนั้นทำความเข้าใจในเนื้อหาและประเด็นหลัก ๆ ของรายวิชา มอบหมายให้ผู้เรียนไป ศึกษาวิเคราะห์เอกสาร แนวคิดตามประเด็นที่กำหนด แล้วให้ผู้เรียนพัฒนาแนวคิดในประเด็นต่าง ๆ แยกทีละประเด็น โดยให้ผู้เรียนเขียนประเด็นเหล่านั้นเป็นผลงานในลักษณะที่เป็นแนวคิด ของตนเองที่ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์เจาะลึกจนตกผลึกทางความคิดเป็นของตนเอง จากนั้นจึงนำเสนอให้กลุ่มเพื่อนได้ช่วยวิเคราะห์ วิจารณ์อีกครั้ง
องครูอาจารย์และเจ้าหน้าที่สนับสนุน ในฐานะที่เป็นผู้ร่วมจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนให้เต็มตามศักยภาพ ต้องมีบทบาทที่สำคัญดังนี้ เช่น (thaicyberu,2556)
1. การเตรียมการสอน ครูควรเตรียมการสอนดังนี้
1.1 วิเคราะห์ข้อมูลของผู้เรียน เพื่อจัดกลุ่มผู้เรียนตามความรู้ความสามารถ และเพื่อกำหนดเรื่องหรือเนื้อารเรียนรู้
1.2 วิเคราะห์หลักสูตรเพื่อเชื่อมโยงกับผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะการกำหนดเรื่องหรือเนื้อหาสาระในหาสาระในก
บทบาทขการเรียนรู้ ตลอดจนวัตถุประสงค์สำคัญ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นสากล
1.3 เตรียมแหล่งเรียนรู้ เตรียมห้องเรียน
1.4 วางแผนการสอน ควรเขียนให้ครอบคลุมองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดเรื่อง
(2) กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
(3) กำหนดเนื้อหา ครูควรมีรายละเอียดพอที่จะเติมเต็มผู้เรียนได้ ตลอดจนมีความรู้ในเนื้อหาของศาสตร์นั้นๆ
(4) กำหนดกิจกรรม เน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้คิดและลงมือปฏิบัติ ได้ศึกษาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย นำข้อมูลหรือความรู้นั้นมาสังเคราะห์เป็นความรู้หรือเป็นข้อสรุปของตนเอง ผลงานที่เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียนอาจมีความหลากหลายตามความสามารถ ถึงแม้จะเรียนรู้จากแผนการเรียนรู้เดียวกัน
(5) กำหนดวิธีการประเมินที่สอดคล้องกับจุดประสงค์
(6) กำหนดสื่อ วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือประเมิน
2. การสอน ครูควรคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
2.1 สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
2.2 กระตุ้นให้ผู้เรียนร่วมกิจกรรม
2.3 จัดกิจกรรมหรือดูแลให้กิจกรรมดำเนินไปตามแผน และต้องคอยสังเกต บันทึกพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เรียนแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มเพื่อสามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้มีความเหมาะสม
2.4 ให้การเสริมแรง หรือให้ข้อมูลย้อนกลับ ให้ข้อสังเกต
2.5 การประเมินผลการเรียน เป็นการเก็บรวบรวมผลงานและประเมินผลงานของผู้เรียน ประเมินผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้
จากที่กล่าวมาข้างต้นมีลักษณะเป็นหลักการที่ครูสามารถนำมาขยายความเพิ่มเติมในเชิงปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางและใช้เป็นข้อสังเกตในการปฏิบัติงานและประเมินการปฏิบัติงานของตนเองที่ผ่านมา ว่าครูได้แสดงบทบาทการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมากน้อยเพียงใด มีส่วนใดที่ยังไม่ได้ทำหรือต้องปรับปรุงแก้ไขบ้าง ได้ดังนี้
1. การเตรียมการจัดการเรียนรู้ ครูควรมีบทบาทดังต่อไปนี้
1.1 วิเคราะห์หลักสูตร
1.2 ปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนหรือสอดคล้องกับท้องถิ่นหรือบูรณาการเนื้อหาสาระระหว่างกลุ่มประสบการณ์ หรือรายวิชา
1.3 เตรียมแหล่งเรียนรู้ เอกสาร สื่อประกอบการเรียนรู้
1.4 มีข้อมูลผู้เรียนที่จะนำไปเป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้
2. การจัดการเรียนรู้ควรให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
2.1 เลือกเรื่องที่จะเรียน
2.2 วางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2.3 เรียนโดยการแลกเปลี่ยนความรู้
2.4 เรียนด้วยกระบวนการกลุ่ม
2.5 เรียนจากห้องสมุด
2.6 เรียนจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งในและนอกโรงเรียน
2.7 เรียนโดยบูรณาการ สาระทักษะ และคุณธรรม
3. ผลการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน สิ่งที่ผู้เรียนได้รับมีดังนี้
3.1 มีผลงานการเรียนรู้ที่หลากหลาย แม้เรียนจากแผนการเรียนรู้เดียวกัน
3.2 มีผลงานเชิงสร้างสรรค์
3.3 มีผลงานที่ภาคภูมิใจ
3.4 สรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง
3.5 มีความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่ม
3.6 ตัดสินใจ ลงความเห็น เลือกปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมกับเรื่องและสถานการณ์
3.7 มีความมั่นใจและกล้าแสดงออก
4. การประเมินผล ครูจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
4.1 สอดคล้องกับจุดประสงค์ ประเมินตามสภาพจริง
4.2 วิธีการและเครื่องมือสอดคล้องกัน
4.3 ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน
4.4 นำผลการประเมินไปพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
-----------------------------------------------------------------------------------
การจัดการความรู้ให้ผู้เรียนเห็นและรู้ว่าเป็นส่วนสำคัญ ท่านอาจารย์-เจ้าหน้าที่-และประชาคมจะดำเนินการให้สำเร็จได้อย่างไร จะมีทิศทางเยี่ยงใดนั้น ก็...ขอเรียนเชิญทุกท่านช่วยร่วมกันคิด ร่วมกันแสดงความเห็น เป็นผู้มีส่วนร่วมด้วยช่วยกัน ความรู้ที่กระจัดกระจาย มีในตัวท่านจะได้ถูกนำมาจัดเก็บหมวดหมู่ อยู่ร่วมกันและเพื่อเผยแพร่ได้ต่อไป
เชิญคลิกดู อ่าน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเข้ากระทำ จากหัวข้อที่เชื่อมโยงไว้นี้ ได้เลยครับ
1.KM : รายละเอียดขั้นตอนการจัดการความรู้ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
2.KM:แผนการดำเนินงานโครงการจัดการความรู้ คณะมนุษย์ฯ ปีการศึกษา 2556
การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ความรู้ความคิดด้วย ตนเองด้วยการรวบรวม ทำความเข้าใจ สรุป วิเคราะห์ และสังเคราะห์จากการศึกษาด้วยตนเอง เหมาะสำหรับบัณฑิตศึกษา เพราะผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ มีประสบการณ์เกี่ยวกับศาสตร์ที่ศึกษามา ในระดับหนึ่งแล้ว
องครูอาจารย์และเจ้าหน้าที่สนับสนุน ในฐานะที่เป็นผู้ร่วมจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนให้เต็มตามศักยภาพ ต้องมีบทบาทที่สำคัญดังนี้ เช่น (thaicyberu,2556)
1. การเตรียมการสอน ครูควรเตรียมการสอนดังนี้
1.1 วิเคราะห์ข้อมูลของผู้เรียน เพื่อจัดกลุ่มผู้เรียนตามความรู้ความสามารถ และเพื่อกำหนดเรื่องหรือเนื้อารเรียนรู้
1.2 วิเคราะห์หลักสูตรเพื่อเชื่อมโยงกับผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะการกำหนดเรื่องหรือเนื้อหาสาระในหาสาระในก
บทบาทขการเรียนรู้ ตลอดจนวัตถุประสงค์สำคัญ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นสากล
1.3 เตรียมแหล่งเรียนรู้ เตรียมห้องเรียน
1.4 วางแผนการสอน ควรเขียนให้ครอบคลุมองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดเรื่อง
(2) กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
(3) กำหนดเนื้อหา ครูควรมีรายละเอียดพอที่จะเติมเต็มผู้เรียนได้ ตลอดจนมีความรู้ในเนื้อหาของศาสตร์นั้นๆ
(4) กำหนดกิจกรรม เน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้คิดและลงมือปฏิบัติ ได้ศึกษาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย นำข้อมูลหรือความรู้นั้นมาสังเคราะห์เป็นความรู้หรือเป็นข้อสรุปของตนเอง ผลงานที่เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียนอาจมีความหลากหลายตามความสามารถ ถึงแม้จะเรียนรู้จากแผนการเรียนรู้เดียวกัน
(5) กำหนดวิธีการประเมินที่สอดคล้องกับจุดประสงค์
(6) กำหนดสื่อ วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือประเมิน
2. การสอน ครูควรคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
2.1 สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
2.2 กระตุ้นให้ผู้เรียนร่วมกิจกรรม
2.3 จัดกิจกรรมหรือดูแลให้กิจกรรมดำเนินไปตามแผน และต้องคอยสังเกต บันทึกพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เรียนแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มเพื่อสามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้มีความเหมาะสม
2.4 ให้การเสริมแรง หรือให้ข้อมูลย้อนกลับ ให้ข้อสังเกต
2.5 การประเมินผลการเรียน เป็นการเก็บรวบรวมผลงานและประเมินผลงานของผู้เรียน ประเมินผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้
จากที่กล่าวมาข้างต้นมีลักษณะเป็นหลักการที่ครูสามารถนำมาขยายความเพิ่มเติมในเชิงปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางและใช้เป็นข้อสังเกตในการปฏิบัติงานและประเมินการปฏิบัติงานของตนเองที่ผ่านมา ว่าครูได้แสดงบทบาทการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมากน้อยเพียงใด มีส่วนใดที่ยังไม่ได้ทำหรือต้องปรับปรุงแก้ไขบ้าง ได้ดังนี้
1. การเตรียมการจัดการเรียนรู้ ครูควรมีบทบาทดังต่อไปนี้
1.1 วิเคราะห์หลักสูตร
1.2 ปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนหรือสอดคล้องกับท้องถิ่นหรือบูรณาการเนื้อหาสาระระหว่างกลุ่มประสบการณ์ หรือรายวิชา
1.3 เตรียมแหล่งเรียนรู้ เอกสาร สื่อประกอบการเรียนรู้
1.4 มีข้อมูลผู้เรียนที่จะนำไปเป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้
2. การจัดการเรียนรู้ควรให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
2.1 เลือกเรื่องที่จะเรียน
2.2 วางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2.3 เรียนโดยการแลกเปลี่ยนความรู้
2.4 เรียนด้วยกระบวนการกลุ่ม
2.5 เรียนจากห้องสมุด
2.6 เรียนจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งในและนอกโรงเรียน
2.7 เรียนโดยบูรณาการ สาระทักษะ และคุณธรรม
3. ผลการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน สิ่งที่ผู้เรียนได้รับมีดังนี้
3.1 มีผลงานการเรียนรู้ที่หลากหลาย แม้เรียนจากแผนการเรียนรู้เดียวกัน
3.2 มีผลงานเชิงสร้างสรรค์
3.3 มีผลงานที่ภาคภูมิใจ
3.4 สรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง
3.5 มีความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่ม
3.6 ตัดสินใจ ลงความเห็น เลือกปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมกับเรื่องและสถานการณ์
3.7 มีความมั่นใจและกล้าแสดงออก
4. การประเมินผล ครูจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
4.1 สอดคล้องกับจุดประสงค์ ประเมินตามสภาพจริง
4.2 วิธีการและเครื่องมือสอดคล้องกัน
4.3 ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน
4.4 นำผลการประเมินไปพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
-----------------------------------------------------------------------------------
การจัดการความรู้ให้ผู้เรียนเห็นและรู้ว่าเป็นส่วนสำคัญ ท่านอาจารย์-เจ้าหน้าที่-และประชาคมจะดำเนินการให้สำเร็จได้อย่างไร จะมีทิศทางเยี่ยงใดนั้น ก็...ขอเรียนเชิญทุกท่านช่วยร่วมกันคิด ร่วมกันแสดงความเห็น เป็นผู้มีส่วนร่วมด้วยช่วยกัน ความรู้ที่กระจัดกระจาย มีในตัวท่านจะได้ถูกนำมาจัดเก็บหมวดหมู่ อยู่ร่วมกันและเพื่อเผยแพร่ได้ต่อไป
เชิญคลิกดู อ่าน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเข้ากระทำ จากหัวข้อที่เชื่อมโยงไว้นี้ ได้เลยครับ
1.KM : รายละเอียดขั้นตอนการจัดการความรู้ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
2.KM:แผนการดำเนินงานโครงการจัดการความรู้ คณะมนุษย์ฯ ปีการศึกษา 2556
No comments:
Post a Comment