แจ้งข่าวถึงบัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่จะรับปริญญาในปี 2557 นี้ ทุกท่าน
ทางฝ่ายวิชาการและวิจัยขอความร่วมมือในการตอบแบบสำรวจ โดยทางฝ่ายฯได้ทำแบบสำรวจและจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพบัณฑิตทุกสาขาไว้ให้ตอบทางออนไลน์ดังนี้คือ
1. แบบสำรวจความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต (ช่วยเรียนเชิญหรือส่งลิงค์นี้ให้ผู้จัดการหรือหนัวหน้างานช่วยตอบ) โดยตรงคลิกที่นี่https://docs.google.com/forms/d/160bWiPRTeYWDCaQbZnwOV5QtxVIbda9Lwg21joK7qTY/viewform
2. แบบสำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิต (บัณฑิตตอบเอง) โดยตรงคลิกที่นี่https://docs.google.com/forms/d/1DKbDaSRXpA6yNw4Rbat1Z2Nxtyz0AwygImAq3d113xg/viewform
เพื่อเป็นฐานข้อมูลด้านประกันคุณภาพการศึกษาให้แก่ทุกสาขาวิชาที่ท่านจบการศึกษาไปแล้วช่วง 1-3 ปี
ดังนั้นทางฝ่ายวิชาการและวิจัยจึงขอความร่วมมือให้ทุกท่านช่วยอ่านทำความเข้าใจ และชี้แจงการทำแบบสำรวจ ติดตามเพื่อนบัณฑิต หรือศิษย์เก่า ให้มาช่วยตอบแบบสำรวจนี้ได้ตลอดเวลา หรือเข้าทำได้จากหน้าเว็บของคณะมนุษย์ http://humannet.chandra.ac.th/ ให้แล้วเสร็จก่อนวันซ้อมใหญ่รับปริญญาในปี พศ.2557 นี้ ครับ
Knowledge Management Portal : Faculty of Humanities and Social Sciences.ศูนย์การจัดการความรู้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม:"องค์กรแห่งความสุข ที่วิชาการเป็นเลิศ เทิดคุณธรรม นำชุมชนเข้มแข็ง"
Wednesday, December 18, 2013
Saturday, December 7, 2013
การเผยแพร่ผลงานวิจัยชุดการออกแบบพัฒนาแบบตัวพิมพ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร
การเผยแพร่ผลงานวิจัยชุดการออกแบบพัฒนาแบบตัวพิมพ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร ที่ประกอบด้วยไฟล์คอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ โดยใช้ชื่อว่าชุดแบบตัวพิมพ์ตระกูลซีอาร์ยู พร้อมสัญญาอนุญาตสิทธิ์ผู้ใช้ จำนวน 4 ชุด คือฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู จันทร์จรัส 56 ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู จันทรา 56 ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู จันทรเกษม 56 และฟ้อนต์ ตระกูลซีอาร์ยู ลานจันทร์ 56 รวม 24 ฟ้อนต์ 24 รูปแบบน้ำหนัก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม สามารถดาวน์โหลดผลงานวิจัยฟ้อนต์ทั้ง 24 แบบ ได้ที่ http://www.chandrakasem.info/?page_id=60
Tuesday, November 5, 2013
ผลการสำรวจแบบสำรวจความพึงพอใจและความต้องการของบุคลากรด้านการจัดการความรู้ภายในคณะมนุษย์ 2556
ผลการสำรวจแบบสำรวจความพึงพอใจและความต้องการของบุคลากรด้านการจัดการความรู้ภายในคณะมนุษย์ 2556 เมื่อช่วงปลายเดือนตุลาคม มีผู้ให้ความร่วมมือตอบแบบสำรวจ รวม 18 คน มาลองกดเล่น 1 คน จากการส่งเชิญตอบทางอีเมล 69 คน ส่งเชิญทางกลุ่ม Line 25 คน แจ้งข่าวและติดตามทาง facebook ของกลุ่มคณะ 2 ครั้ง เครื่องมือใช้แบบสอบถามออนไลน์ของ murvey.com ระยะเวลาเปิดแบบสำรวจ 15 วัน ได้ผลดังภาพครับ (คลิกขยาย)
มีผู้เสนอความคิดเห็นไว้ดังนี้ครับ จาก 1 ท่าน
มีผู้เสนอความคิดเห็นไว้ดังนี้ครับ จาก 1 ท่าน
1.ต้องการให้มหาวิทยาลัยมีการจัดอบรมโครงการเข้าสู้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นประจำอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยก็ปีละหนึ่งครั้ง
2.ต้องการให้มหาวิทยาลัยสร้างกระบวนการการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่ชัดเจน เช่น ออกประกาศหรือระเบียบให้ชัดเจนว่าการเผยแพร่ผลงานวิชาการประเภทต่างๆของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมต้องเผยแพร่ไปที่ห้องสมุดอย่างน้อยกี่แห่ง
3.ในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาต่างประเทศ จึงต้องการให้มหาวิทยาลัยแก้ไขสัญญาจ้างว่างานแปลก็นำมาใช้ต่อสัญญาจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยได้เช่นกัน เพราะในประกาศกพอ.ก็ให้ความสำคัญงานวิชาการประเภทงานแปลว่าสามารถใช้ขอตำแหน่งทางวิชาการได้ด้วยเช่นกัน แต่ทำไมการต่อสัญญาจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการกลับใช้งานแปลต่อสัญญาจ้างไม่ได้ ถ้าในระเบียบ / ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยไม่มีก็ควรจะปรับแก้ให้ทันสมัยตามประกาศกพอ. เพราะงานแปลก็เป็นผลงานวิชาการที่สำคัญพอๆกับผลงานวิชาการประเภทอื่นๆเช่นกัน
4.ต้องการให้มหาวิทยาลัยจัดคลินิกสำหรับให้คำปรึกษาอาจารย์รุ่นใหม่ๆเกี่ยวกับปัญหาที่ประสบพบเจอระหว่างการทำผลงานทางวิชาการและขั้นตอนการขอตำแหน่งวิชาการ
5.ต้องการให้มหาวิทยาลัยจัดสถานที่เฉพาะเพื่อให้อาจารย์สามารถเขียนผลงานวิชาการได้เต็มที่
ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือ และผลการสำรวจเล็กๆนี้ คงจะสะท้อนความพร้อมของประชาคมแห่งนี้ได้บ้าง หากท่านใดต้องการเสนอแนะเพิ่มเติมก็สามารถ Comment แสดงความคิดเห็นในตอนท้ายบล็อกนี้ได้ทุกเวลานะครับ แล้วจะประสานงานเพื่มเติม และคงจะให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน เพราะ KM นั้นเป็นเรื่องของทุกคน ที่ต้องลงมือปฏิบัติงานเป็นปกติกันอยู่แล้ว ประเด็นที่ตกลงกันเป็นหลักของคณะเราก็คงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ e-learning หรือมุ่งสู่ประเด็น การพัฒนาทักษะไอซีทีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพพการทำงานประจำคามหน้าที่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมาพบปะตามเงื่อนเวลาทุกวันพุธบ่ายก็เป็นได้ หากแต่ควรเป็นการสังคมการร่วมเรียนรู้แบบผสมผสาน ตามกาละและเวลาที่อำนวย โดยปรับประยุกต์ใช้ทักษะชีวิตที่ผสานกับเครื่องมือและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม และความพร้อมของปัจเจกบุคคล แบบ Snow Ball ที่ต้องพึ่งพาอาศัยกำลังของทุกคน ต้องช่วยกันขยับและขับเคลื่อน ยิ่งเคลื่อนที่ก็ยิ่งก้อนโตและมีพลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนั่นเอง
ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือ และผลการสำรวจเล็กๆนี้ คงจะสะท้อนความพร้อมของประชาคมแห่งนี้ได้บ้าง หากท่านใดต้องการเสนอแนะเพิ่มเติมก็สามารถ Comment แสดงความคิดเห็นในตอนท้ายบล็อกนี้ได้ทุกเวลานะครับ แล้วจะประสานงานเพื่มเติม และคงจะให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน เพราะ KM นั้นเป็นเรื่องของทุกคน ที่ต้องลงมือปฏิบัติงานเป็นปกติกันอยู่แล้ว ประเด็นที่ตกลงกันเป็นหลักของคณะเราก็คงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ e-learning หรือมุ่งสู่ประเด็น การพัฒนาทักษะไอซีทีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพพการทำงานประจำคามหน้าที่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมาพบปะตามเงื่อนเวลาทุกวันพุธบ่ายก็เป็นได้ หากแต่ควรเป็นการสังคมการร่วมเรียนรู้แบบผสมผสาน ตามกาละและเวลาที่อำนวย โดยปรับประยุกต์ใช้ทักษะชีวิตที่ผสานกับเครื่องมือและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม และความพร้อมของปัจเจกบุคคล แบบ Snow Ball ที่ต้องพึ่งพาอาศัยกำลังของทุกคน ต้องช่วยกันขยับและขับเคลื่อน ยิ่งเคลื่อนที่ก็ยิ่งก้อนโตและมีพลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนั่นเอง
Wednesday, October 30, 2013
สไลด์คำบรรยายเรื่อง การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้งานวิจัย
Ict – kms supports for researcher สไลด์คำบรรยายเรื่อง การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้งานวิจัย การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1 โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2556 จัดโดยฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม.
Tuesday, October 29, 2013
นโยบายและระบบการวิจัยของประเทศ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
นโยบายและระบบการวิจัยของประเทศ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
โดยนายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ
สรุปประเด็นที่น่าสนใจ
วิจัยเป็นเครื่องมือในการเติมเต็มองค์ความรู้ที่ยังขาดอยู่
ประเด็นการวิจัยมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ/สังคม อาทิเช่น
-เศรษฐกิจ/การเงิน
-โรคติดต่อ
-พลังงาน
-โครงสร้างประชากร กำลังเข้าสู่ยุคผู้สูงอายุ
-อาหาร
-มลภาวะ ผลจากการกินอยู่ิ
- การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ (ไฟป่า พายุ น้ำิท่วม ภัยแล้ง สึนามิ แผ่นดินไหว น้ำแข็งขั้วโลกละลาย
สภาพความรู้ที่ได้จากการวิจัย ถ่ายทอด
- สังคมที่ต้องการความรวดเร็ว แ็ข่งขัน
-การ เลียนแบบ
-ถ่ายทอดองค์ความรู้ในรูปของเอกสาร หนังสือ ตำรา
หน่วยงานวิจัย ควรต้องมี
- มาตรฐาน (การทำงานวิจัย ผู้วิจัยต้องมีพื้นฐานการทำงานวิจัยที่เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะงานวิจัยระดับพื้นฐานต้องได้คุณภาพ)
-สัมฤทธิผล
เครือข่ายองค์การบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช)
-วช
-สกว
-สวก
-สวรส
-สกอ
-สวทช
-สวทน
สถานภาพปัญหาเมื่อก่อนของเครือข่าย ทุกหน่วยงานปฏิบัติงานแข่งกัน ยังไม่มีเอกภาพ ต้องเข้าใจว่าทุกศาสตร์ต้องเป็น multi-disciplinary ไม่ใช่ทำงานแบบหน้าเดียว ต้องมองให้ครอบคลุมและร่วมมือกันมากกว่านี้ จะให้ทุกคนเข้าไปมีส่วนร่วมกันอย่างไร
ปัจจุบัน เริ่มคุยกันเป็นเครือข่ายและเริ่มวางแผนร่วมกันและต้องการขยายเครือข่ายไปเป็นกลุ่มย่อยอื่นๆ ร่วมกันเพื่อปฏิรูปการวิจัย โดยหน่วยงาน วช และ 5ส
ผลจากการปฎิรูประบบวิจัย
-มีการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีวิจัยชัดเจน กำหนดกลุ่มต่างๆให้ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน เช่น มหาวิทยาลัยอยู่ในกลุ่มผู้ใช้งานวิจัย
-ปฏิรูประบบบริหารจัดการงานวิจัย > วิจัยมุ่งเป้า เป็นรายประเด็น เช่น ปี 2555 มี 5 เรื่อง เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง การท่องเที่ยว โลจิสติก ตั้งงบจัดสรร งปม.ให้ดำเนินการโดยตรง แต่ก่อน วช.กำหนดเอง แต่ปัจจุบันมอบให้หน่วยงานที่เชี่ยวชาญไปดำเนินการ วช.เป็นผู้อำนวยการ ต้นน้ำและปลายน้ำ มีคณะดำเนินงานร่วมกันเป็นภาคีวิจัย โดยให้หน่วยงานต่างๆที่มีแผนงานวิจัยมาร่วมวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธและยุทธศาสตร์เฉพาะทางร่วมกัน เป็นชุดเดียวกัน ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติร่วมกัน
-กำหนดงบประมาณวิจัยล่วงหน้าอย่างท้าทาย
-มีการกำหนดมาตรฐานการวิจัยที่ครอบคลุม
-มีการติดตาม
การจัดทำฐานข้อมูล 5 ระบบ
-ฐานข้อมูลผลงานที่เสร็จแล้ว TNRR
-ฐานข้อมูลงานวิจัยที่กำลังดำเนินการ
-ฐานข้อมูลนักวิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิ
-ฐานข้อมูลที่ไปสู่การใช้ประโยชน์
-Single Window System รวมทุกอย่างในหน้าเดียว แบบฟอร์มขอทุนเดียวกันทุกแหล่งทุน เป็น one stop service
Monday, October 28, 2013
วิจัยเรื่องอะไรดี? ...เขียนโครงการวิจัยอย่างไร จึงได้ทุน
โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ปราณี กุลละวณิชย์
ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา (พ.ศ. 2556-)
ทุนวิจัยกับการเลือกสมัครรับทุน
ให้ศึกษาเป้าประสงค์ของทุน
-การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า(เรื่องลิขสิทธิ์การเผยแพร่ผลงานวิจัย
-ผลวิจัยที่เป็นประโยชน์ใช้ได้จริง
-ผลวิจัยที่เป็นประโยชน์ใช้ได้จริงในวงกว้าง
-ผลวิจัยของตีพิมพ์ในวารสาร
รูปแบบผลของการวิจัย
-รายงานการวิจัย(Research Report) ต้องมีการเผยแพร่ในวารสารด้วย
-บทความวิัจัย(Article) ส่วนใหญ่เป็นสายวิทยาศาสตร์ ไม่ต้องเขียนรายงาน แต่ต้องเขียนย่อสรุปกระบวนการวิจัย
การเผยแพร่ผลการวิจัย
-ในวารสารสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์
-ในหนังสือรวมบทความ(Monographs)
-ในเอกสารประมวลผลการประชุมทางวิชาการ(proceeding)
รูปแบบโครงการที่เสนอขอรับทุน
เป็นไปตามประกาศของผู้ให้ทุน
-ความเป็นมาของปัญหา/ประเด็นปัญหา(ทำไมผู้วิจัยจึงสนใจปัญหานี้ ศึกษาวิจัยแล้วได้อะไร
-ทบทวนวรรณกรรมเบื้องต้น(เหตุผลที่จะต้องศึกษา)
-วัตถุประสงค์ของการวิจัย
-คำถาม/สมมติฐานของการวิจัย
-ขอบเขตการวิจัย
-ข้อมูลที่จะใช้ในการศึกษาวิจัย
-วิธีดำเนินการวิจัย ทฤษฎีที่ใช้ เครื่องมือที่ใช้
-ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ตารางเวลาในการดำเนินงาน
-งบประมาณ
-ประโยชน์
-Reference เอกสารอ้างอิง
-ประวัติการทำงานของผู้วิจัย
การตัดสินทุนวิจัย
-ตอบเป้าประสงค์ของทุนหรือไม่
-ความชัดเจนของหัวข้อวิจัย(โจทย์) ประเด็นปัญหา)
-ชื่อเรื่องวิจัย
-วัตถุประสงค์
-สมมติฐาน
-แนวทางวิจัย
-ความเป็นไปได้
-ความรู้ของผู้วิจัย ประสบการณ์ในการวิจัยของผู้วิจัย
-เวลาของผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย
-เวลาของโครงการ
-ขอบเขตของโครงการ
แนวทางงานวิจัยทางทัศนศิลป์:สร้างวิชาการงานศิลป์ ของวช.
กรอบการวิจัย
1.การวิจัยเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปกรรมเชิงวิชาการ
2.การศึกษาผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมในอดีตที่ทรงคุณค่า
3.การรวบรวมผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมอย่างมีระบบ พร้อมองค์ความรู้
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เกิดผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมแขนงต่างๆ
2. เพื่อรวบรวมข้อมูลในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม
3. เพื่อจัดระบบข้อมูลผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปกรรม
ผลผลิต
1. ทำให้เกิดผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมสาขาต่างๆ
2. ทำให้เกิดการแสดงผลงานศิลปกรรมต่อสาธารณชนในรูปแบบต่างๆ
3. ทำให้เกิดศิลปินชั้นนำสาขาต่างๆ ซึ่งจะพัฒนาเป็นบุคลากรหลักในวงการศิลปกรรมต่อไป
สรุปประเด็นปัญหาในการทำวิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
โดย ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ
ปัญหา/ข้ออ้างที่พบ
-ไม่ชอบ ไม่สนใจ ไม่เห็นความจำเป็น
-สนใจ แต่ไม่มีเวลา เพราะสอนและบริการวิชาการอย่างหนัก
-อยากทำ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร -ไม่มีทุนวิจัยที่เพียงพอ/ไม่อยากขอทุนเพราะกลัว ภาระ -พยายามทำ แต่ไม่มีคุณภาพ(ข้อเสนอโครงการ ผลงาน)
-ไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างเหมาะสม
ที่มาของปัญหา
-ธรรมชาติของการวิจัยในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ค่อนข้างเป็นนามธรรม ไม่มีกรอบที่ชัดเจนเหมือนทางสาขาวิทยาศาสตร์ มีคำตอบที่หลากหลาย หาข้อสรุปได้ยาก
-ธรรมชาติของบุคลากรในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
-เป็นนักคิดและนักฝันมากกว่านักทำ
-ชอบจินตนาการแบบเลิศหรูแต่ไร้ระเบียบ
-นิยมความพอเพียงด้านวิชาการมากกว่าการแสวงหาอย่างต่อเนื่อง
-มีความเป็นปัจเจกบุคคลสูง
-ภูมิใจและหลงตัวเองกับความเป็นคุณครูสุดประเสริฐ
-นิยมเขียนตำรามากกว่าทำวิจัย
-สภาพและบรรยากาศไม่เอื้ออำนวย
-อาจารย์ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างและสร้างสังคมการวิจัย ให้ตัวอย่างที่ดี
-ขาดตัวอย่างและที่พึ่งทางวิชาการที่ดี ทางแก้-อาจารย์ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างและสร้างสังคมการวิจัย ให้ตัวอย่างที่ดี
-อยู่นอกกระแสการวิจัย ควรหมั่นอยู่ในแวดวงวิจัย
ปัญหา/ข้ออ้างที่พบ
-ไม่ชอบ ไม่สนใจ ไม่เห็นความจำเป็น
-สนใจ แต่ไม่มีเวลา เพราะสอนและบริการวิชาการอย่างหนัก
-อยากทำ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร -ไม่มีทุนวิจัยที่เพียงพอ/ไม่อยากขอทุนเพราะกลัว ภาระ -พยายามทำ แต่ไม่มีคุณภาพ(ข้อเสนอโครงการ ผลงาน)
-ไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างเหมาะสม
ที่มาของปัญหา
-ธรรมชาติของการวิจัยในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ค่อนข้างเป็นนามธรรม ไม่มีกรอบที่ชัดเจนเหมือนทางสาขาวิทยาศาสตร์ มีคำตอบที่หลากหลาย หาข้อสรุปได้ยาก
-ธรรมชาติของบุคลากรในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
-เป็นนักคิดและนักฝันมากกว่านักทำ
-ชอบจินตนาการแบบเลิศหรูแต่ไร้ระเบียบ
-นิยมความพอเพียงด้านวิชาการมากกว่าการแสวงหาอย่างต่อเนื่อง
-มีความเป็นปัจเจกบุคคลสูง
-ภูมิใจและหลงตัวเองกับความเป็นคุณครูสุดประเสริฐ
-นิยมเขียนตำรามากกว่าทำวิจัย
-สภาพและบรรยากาศไม่เอื้ออำนวย
-อาจารย์ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างและสร้างสังคมการวิจัย ให้ตัวอย่างที่ดี
-ขาดตัวอย่างและที่พึ่งทางวิชาการที่ดี ทางแก้-อาจารย์ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างและสร้างสังคมการวิจัย ให้ตัวอย่างที่ดี
-อยู่นอกกระแสการวิจัย ควรหมั่นอยู่ในแวดวงวิจัย
-ขาดระบบการบริหารจัดการด้านกิจการวิจัยที่ดีพอ
-ขาดปัจจัยเกื้อหนุนด้านต่างๆที่จำเป็น
-กฏระเบียบการวิจัยไม่เอื้อต่อสาขาวิชา การแก้ปัญหาระดับหน่วยงาน
-ปรับกฏระเบียบให้เหมาะสมกับลักษณะการวิจัย(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
-การจัดสัดส่วนภาระงานด้านการสอนและการวิจัยให้เหมาะสม
-จัดตั้งหน่วย/กลุ่มช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพหลายระดับ(กัลยาณมิตร)
-ส่งเสริมความรู้ด้านการวิจัยอย่างต่อเนื่องและเจาะลึกด้านเนื้อหา
-สนับสนุนการวิจัยแบบกลุ่มวิจัย มีหัวหน้าโครงการ/ผู้ประสานงานที่เข้มแข็ง เช่นแจก ประเด็นไทยศึกษาด้าน….แบ่งกันไปคนละหัวเรื่องที่แตกต่าง เป็นวิจัยกลุ่ม/ชุด รับผิดชอบแบบ 100%
-มีการกำกับดูแล ประเมิน และติดตามอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ(กัลยาณมิตร) จันทรเกษม ….ใครพร้อมที่จะเป็นพ่อไก่แม่ไก่ ยกมือขึ้น…..
-จัดเวทีให้นำเสนอรายงานความก้าวหน้าและผลงานวิจัยเป็นการภายใน
-จัดทำระบบเบิกจ่ายเงินทุนวิจัยที่คล่องตัวและระบบรายงานการเงิน
-สร้างขวัญและกำลังใจ โดยจัดสรรรางวัลและประกาศเกียรติคุณประจำปี ตามเงื่อนไขการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติหรือเป็นที่ยอมรับ
กระตุ้นและสร้างความพร้อมระดับหน่วยงาน
-สร้างความเชื่อมโยงกับเครือข่ายวิจัยภายนอก
"องค์ความรู้ใหม่คือ ทอง ของนักวิจัย"
-กฏระเบียบการวิจัยไม่เอื้อต่อสาขาวิชา การแก้ปัญหาระดับหน่วยงาน
-ปรับกฏระเบียบให้เหมาะสมกับลักษณะการวิจัย(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
-การจัดสัดส่วนภาระงานด้านการสอนและการวิจัยให้เหมาะสม
-จัดตั้งหน่วย/กลุ่มช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพหลายระดับ(กัลยาณมิตร)
-ส่งเสริมความรู้ด้านการวิจัยอย่างต่อเนื่องและเจาะลึกด้านเนื้อหา
-สนับสนุนการวิจัยแบบกลุ่มวิจัย มีหัวหน้าโครงการ/ผู้ประสานงานที่เข้มแข็ง เช่นแจก ประเด็นไทยศึกษาด้าน….แบ่งกันไปคนละหัวเรื่องที่แตกต่าง เป็นวิจัยกลุ่ม/ชุด รับผิดชอบแบบ 100%
-มีการกำกับดูแล ประเมิน และติดตามอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ(กัลยาณมิตร) จันทรเกษม ….ใครพร้อมที่จะเป็นพ่อไก่แม่ไก่ ยกมือขึ้น…..
-จัดเวทีให้นำเสนอรายงานความก้าวหน้าและผลงานวิจัยเป็นการภายใน
-จัดทำระบบเบิกจ่ายเงินทุนวิจัยที่คล่องตัวและระบบรายงานการเงิน
-สร้างขวัญและกำลังใจ โดยจัดสรรรางวัลและประกาศเกียรติคุณประจำปี ตามเงื่อนไขการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติหรือเป็นที่ยอมรับ
กระตุ้นและสร้างความพร้อมระดับหน่วยงาน
-สร้างความเชื่อมโยงกับเครือข่ายวิจัยภายนอก
-เชิญแหล่งเงินทุนระดับชาติมาประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลเชิงลึก
-จัดทำคู่มือแหล่งเงินทุนและข้อกำหนดต่างๆของแต่ละแหล่งเงินทุน
-ประชาสัมพันธ์เพื่่อกระตุ้นเตือนเป็นระยะๆอย่างสม่ำเสมอ
สร้างความพร้อมระดับบุคคล -สร้างความตระหนักในหน้าที่การเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยตามภารกิจ
-สร้างนิสัยช่างสังเกต
-สร้างนิสัยถาม คำถามประเภท ทำไม
-สร้างนิสัยคิดและทำอย่างเป็นระบบ
-สร้างนิสัยตรงต่อเวลาและความสามารถในการจัดเวลา
-สร้างนิสัยการทำงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
-สำรวจความสนใจที่แท้จริงของตนเอง(วิชาการ)
-แสวงหากัลยาณมิตรด้านวิจัย
-สร้างความกล้าที่จะขอทุนวิจัย
-สร้างความกล้าและอดทนสำหรับการวิพากษ์วิจารณ์
-เรียนรู้เรื่องสถิติ การนำเสนอด้วยตาราง(Table)และภาพ
-เรียนรู้การสืบค้นข้อมูลออนไลน์และการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต
ทำอะไรบ้างก่อนขอทุน
-ทำแผนที่ความคิด/ลายแทงแสดงลำดับงาน(Mapping)
-เขียนข้อเสนอแนวคิด(Concept Paper)
-เขียนข้อเสนอโครงการเต็มรูป(Full Paper)
-ร่วมประชุมนำเสนอโครงการ(Oral Presentation)
ทำอะไรบ้างหลังได้ทุน
-เปิดบัญชีออมทรัพย์ของโครงการ
-ทำสัญญารับทุนกับเจ้าของทุน
-ร่วมกิจกรรมของหน่วยงานผู้ให้ทุน
-ดำเนินการวิจัยตามที่เสนอไว้อย่างซื่อสัตย์
-จัดทำรายงานความก้าวหน้าและรายงานการเงินตามงวดเงิน
-จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์และรายงานการเงินตลอดโครงการ
ทำอะไรบ้างเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย
-เขียนเป็นหนังสือและพ/หรือบทความวิจัย(วิชาการ)
-เขียนบทความวิชาการและ/หรือคอลัมน์(ประชาสัมพันธ์)
-นำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับชาติและ/หรือนานาชาติ
-ทำ powerpoint/handout/oral presentation)
-ทำโปสเตอร์ตามข้อกำหนดของผู้จัด(poster presentation)
-ซ้อมการนำเสนอเนื้อหาและการควบคุมเวลา
-จัดทำคู่มือแหล่งเงินทุนและข้อกำหนดต่างๆของแต่ละแหล่งเงินทุน
-ประชาสัมพันธ์เพื่่อกระตุ้นเตือนเป็นระยะๆอย่างสม่ำเสมอ
สร้างความพร้อมระดับบุคคล -สร้างความตระหนักในหน้าที่การเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยตามภารกิจ
-สร้างนิสัยช่างสังเกต
-สร้างนิสัยถาม คำถามประเภท ทำไม
-สร้างนิสัยคิดและทำอย่างเป็นระบบ
-สร้างนิสัยตรงต่อเวลาและความสามารถในการจัดเวลา
-สร้างนิสัยการทำงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
-สำรวจความสนใจที่แท้จริงของตนเอง(วิชาการ)
-แสวงหากัลยาณมิตรด้านวิจัย
-สร้างความกล้าที่จะขอทุนวิจัย
-สร้างความกล้าและอดทนสำหรับการวิพากษ์วิจารณ์
-เรียนรู้เรื่องสถิติ การนำเสนอด้วยตาราง(Table)และภาพ
-เรียนรู้การสืบค้นข้อมูลออนไลน์และการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต
ทำอะไรบ้างก่อนขอทุน
-ทำแผนที่ความคิด/ลายแทงแสดงลำดับงาน(Mapping)
-เขียนข้อเสนอแนวคิด(Concept Paper)
-เขียนข้อเสนอโครงการเต็มรูป(Full Paper)
-ร่วมประชุมนำเสนอโครงการ(Oral Presentation)
ทำอะไรบ้างหลังได้ทุน
-เปิดบัญชีออมทรัพย์ของโครงการ
-ทำสัญญารับทุนกับเจ้าของทุน
-ร่วมกิจกรรมของหน่วยงานผู้ให้ทุน
-ดำเนินการวิจัยตามที่เสนอไว้อย่างซื่อสัตย์
-จัดทำรายงานความก้าวหน้าและรายงานการเงินตามงวดเงิน
-จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์และรายงานการเงินตลอดโครงการ
ทำอะไรบ้างเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย
-เขียนเป็นหนังสือและพ/หรือบทความวิจัย(วิชาการ)
-เขียนบทความวิชาการและ/หรือคอลัมน์(ประชาสัมพันธ์)
-นำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับชาติและ/หรือนานาชาติ
-ทำ powerpoint/handout/oral presentation)
-ทำโปสเตอร์ตามข้อกำหนดของผู้จัด(poster presentation)
-ซ้อมการนำเสนอเนื้อหาและการควบคุมเวลา
"องค์ความรู้ใหม่คือ ทอง ของนักวิจัย"
Thursday, October 24, 2013
กำหนดจัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง พัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1
ฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กำหนดจัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง พัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1 ในระหว่างวันที่ 28-30 ตุลาคม 2556 เปลี่ยนสถานที่ไปจัดที่ ห้องประชุมพิมานจันทร์ ชั้น 12 อาคารสำนักงานอธิการบดี ผู้เข้าอบรมในครั้งนี้คืออาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่มีอายุงานช่วงระหว่าง 2 ปี รวมกว่า 45 คน โดยมีวิทยากรจากและผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์มาให้ความรู้และร่วมทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ให้ผู้เข้าอบรมได้เพิ่มความรู้และทักษะการทำวิจัย อาทิ รศ.ดร.อรพินทร์ พิทักษ์มหาเกตุ จากมหิดล ศาสตราจทารย์ ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ จากจุฬา ศาสตราจารย์ดร.ปราณี กุลละวณิชย์ ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาปรัชญา และท่านรองกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรให้แก่อาจารย์ผู้เข้าสัมมนา
กำหนดการอบรม
โครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัย “นักวิจัยรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1”
วันที่ 28 – 30 ตุลาคม 2556 ณ ห้องประชุมพิมานจันทร์ ชั้น 12 อาคารสำนักงานอธิการบดี
มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
วันที่ 28 ตุลาคม 2556
08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 09.30 น. พิธีเปิดโครงการ
กล่าวรายงานโครงการ โดย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กล่าวเปิดงาน โดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
09.30 – 10.15 น. สถิตสำหรับการวิจัย โดย รศ.ดร.อรพินทร์ พิทักษ์มหาเกตุ จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
10.15 – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 – 12.00 น. สถิตสำหรับการวิจัย โดย รศ.ดร.อรพินทร์ พิทักษ์มหาเกตุ จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 15.00 น. ปัญหาในการทำงานวิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
โดย ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ จาก ภาควิชาภาษาศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.30 น. ปัญหาในการทำงานวิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
โดย ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ จาก ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ 29 ตุลาคม 2556
08.30 – 10.15 น. “วิธีการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้รับทุนวิจัย”
โดย ศ.ดร.ปราณี กุลละวณิชย์ ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา
10.15 – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 – 12.00 น. “วิธีการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้รับทุนวิจัย” ต่อ
โดย ศ.ดร.ปราณี กุลละวณิชย์ ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาปรัชญา
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 15.00 น. ผู้เข้าอบรมทดลองเขียนเสนอโครงการวิจัย (research project)
พร้อมซักถามปัญหาในการจัดทำกับวิทยากร โดย ศ.กิตติคุณ ดร.ปราณี กุลละวณิชย์
ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา
15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.30 น. ผู้เข้าอบรมนำเสนอโครงการวิจัย (research project) และรับคำแนะนำ
จากศ.ดร.ปราณี กุลละวณิชย์ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา
วันที่ 30 ตุลาคม 2556
08.30 – 10.15 น. “นโยบายและระบบการวิจัยของประเทศ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” (ต่อ)
โดย นายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
10.15 – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 – 12.00 น. “นโยบายและระบบการวิจัยของประเทศ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์”(ต่อ)
โดย นายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 15.00 น. การใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้งานวิจัย
โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร
15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.30 น. การใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้งานวิจัย (ต่อ)
โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร
16.30 – 17.30 น. พิธีมอบวุฒิบัตรและปิดการอบรม
กำหนดการอบรม
โครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัย “นักวิจัยรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1”
วันที่ 28 – 30 ตุลาคม 2556 ณ ห้องประชุมพิมานจันทร์ ชั้น 12 อาคารสำนักงานอธิการบดี
มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
วันที่ 28 ตุลาคม 2556
08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 09.30 น. พิธีเปิดโครงการ
กล่าวรายงานโครงการ โดย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กล่าวเปิดงาน โดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
09.30 – 10.15 น. สถิตสำหรับการวิจัย โดย รศ.ดร.อรพินทร์ พิทักษ์มหาเกตุ จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
10.15 – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 – 12.00 น. สถิตสำหรับการวิจัย โดย รศ.ดร.อรพินทร์ พิทักษ์มหาเกตุ จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 15.00 น. ปัญหาในการทำงานวิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
โดย ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ จาก ภาควิชาภาษาศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.30 น. ปัญหาในการทำงานวิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
โดย ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ จาก ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ 29 ตุลาคม 2556
08.30 – 10.15 น. “วิธีการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้รับทุนวิจัย”
โดย ศ.ดร.ปราณี กุลละวณิชย์ ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา
10.15 – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 – 12.00 น. “วิธีการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้รับทุนวิจัย” ต่อ
โดย ศ.ดร.ปราณี กุลละวณิชย์ ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาปรัชญา
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 15.00 น. ผู้เข้าอบรมทดลองเขียนเสนอโครงการวิจัย (research project)
พร้อมซักถามปัญหาในการจัดทำกับวิทยากร โดย ศ.กิตติคุณ ดร.ปราณี กุลละวณิชย์
ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา
15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.30 น. ผู้เข้าอบรมนำเสนอโครงการวิจัย (research project) และรับคำแนะนำ
จากศ.ดร.ปราณี กุลละวณิชย์ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา
วันที่ 30 ตุลาคม 2556
08.30 – 10.15 น. “นโยบายและระบบการวิจัยของประเทศ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” (ต่อ)
โดย นายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
10.15 – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 – 12.00 น. “นโยบายและระบบการวิจัยของประเทศ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์”(ต่อ)
โดย นายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 15.00 น. การใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้งานวิจัย
โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร
15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.30 น. การใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้งานวิจัย (ต่อ)
โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร
16.30 – 17.30 น. พิธีมอบวุฒิบัตรและปิดการอบรม
Tuesday, September 17, 2013
แจ้งติดตามการประเมินการเรียนการสอนออนไล์ประจำภาคเรียนที่ 1/2556
เหลือเวลาอีก 13 วัน ก็จะปิดโหวตประเมินการสอนที่ http://humannet.chandra.ac.th/ แล้วครับท่าน คณาจารย์ทุกท่านต้องติดตามและกำกับนักศึกษาที่เรียนกับท่าน เรื่องการเข้ามีส่วนร่วมในการประเมินการสอนออนไลน์ของท่านด้วยนะครับ ท่านประธานแต่ละสาขาวิชาควรบอกต่อกัน หากต้องการทราบยอดว่ามีนักศึกษาเข้าประเมินแล้วเท่าใด สอบถามที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ เบอร์ภายใน 3055 ถามหรือแจ้งขอแชร์ดูข้อมูลวิชาของท่านเองทีประธานสาขาวิชาหรือแจ้งอีเมลส่วนตัวของ gmail.com ของท่านไปอีเมล์ human.chandra@gmail.com
---------------------------------
25/10/2556
แจ้งข่าวเรื่องการสรุปผลการประเมินการสอนออนไลน์ ภาคเรียนที่ 1/2556 ขณะนี้ได้รับแจ้งว่าทีมงานได้ดำเนินการเสร็จแล้ว กำลังจัดส่งไปยังท่าน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายวิชาการ หากท่านอยากได้คอมเม้นต์ไปประกอบ มคอ.5 ด้วยนั้น ให้แจ้งขอแชร์ไฟล์ไปที่ human.academic@gmail.com โดยแจ้งรหัสวิชา
- ด่วน การจัดส่งมคอ.3 และ 5 ประจำเทอมที่ 2/2556 มีแค่สาขาวิชาภาษาอังกฤษ กรุณารีบจัดส่งด่วนนะครับ จะเปิดเทอมใหม่แล้ว ส่งก่อนสิ้นเดือนนี้นะขอรับ ทางวิชาการแจ้งทวงถามไปนานแล้ว
Saturday, September 14, 2013
ขอเรียนเชิญท่านมีส่วนร่วมในการพิจารณาผลงานออกแบบฟ้่อนต์ เป็นการวิจัยประเภทสร้างสรรค์(Creative Research)และช่วยตอบแบบสอบถามการวิจัยออนไลน์
CRU Font Family[/caption]
ขอเรียนเชิญท่านมีส่วนร่วมในการพิจารณาผลงานออกแบบฟ้่อนต์ เป็นการวิจัยประเภทสร้างสรรค์(Creative Research)และช่วยตอบแบบสอบถามการวิจัยออนไลน์ ที่ เว็บ http://cru-font.blogspot.com โดยการคลิกเข้าศึกษา พิจารณาผลงานภาพรวม ในแต่ละหน้า แล้วจึงคลิกเข้าทำแบบสำรวจ ที่หน้า http://cru-font.blogspot.com/p/survey.html โดยโปรดกรุณาให้ข้อมูลที่เป็นจริง ตอบแบบสำรวจให้ครบและส่ง-บันทึกตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ทั้งนี้นับตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2556 เวลา 12.00 น.ถึง วันที่ 17 กันยายน 2556 เวลา 12.00 น. เพื่อการประมวลผล วิเคราะห์และสรุปผลงาน รายงาน แล้วทำการเผยแพร่พัฒนาสู่สังคม ให้เกิดการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์จริงในลำดับต่อไป
ขอขอบพระคุณในความร่วมมือจากท่านเป็นอย่างสูง
ผู้วิจัย : ผู้ช่วยศ่าสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร
อาจารย์-ข้าราชการประจำสาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กทม. 10900
ติดต่ออีเมลปัจจุบัน prachid007@gmail.com,prachid@thaifont.info , prachid@prachid.com , โทรศัพท์มือถือ: +66(0)896670091
Tuesday, July 16, 2013
Saturday, June 29, 2013
ผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอนวิชาออกแบบแอนิเมชั่น ภาคเรียนที่ 3/2555 ของสาขาวิชาศิลปกรรม โครงการแบ่งปันความรู้ร่วมกับทรูปลูกปัญญาดอตคอม
ผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอนวิชา Animation Design ARTI3322 ภาคเรียนที่ 3/2555 ตามแนวคิดของผู้สอนที่ได้ดำเนินการจัดการความรู้ตามแนวคิด สร้างสรรค์สิ่งรู้แบ่งสรรปันสู่ให้สังคมอุดมปัญญา โดยให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมจากการที่ได้สร้างสรรค์ผลงานเรียนเป็นกลุ่มสร้างงานแอนิเมชั่นเพื่อเป็นคลังความรู้ในระบบดิจิตัล กับโครงการแบ่งปันความรู้กับทรูปลูกปัญญา ผลงานผู้เรียนกลุ่ม aop aop เรื่อง life of frog และกลุ่มอื่นๆทั้ง 6 กลุ่มเมื่อเดือนพฤษภาคม 2556 ได้รับการยอมรับและจัดเก็บเข้าคลังความรู้ดิจิตัล โดยจัดให้เป็นสื่อการเรียนสำหรับเด็กชั้นประถมศึกษา เผยแพร่แบบ 24 x 7 ในระบบฐานข้อมูลของโครงการทรูปลูกปัญญา และผลงานเด่นของกลุ่ม aop aop นี้ หัวหน้ากลุ่มคือนางสาวภนิดาบุญมี ได้รับการสัมภาษณ์ลงนิตยสารออนไลน์ชื่อ Plook ฉบับที่ 31 ประจำเดือน กรกฏาคม 2556 หน้า 12 ได้ส่งต่อความภูมิใจให้กับผู้สอนคือ ผศ.ประชิดทิณบุตร ดังในภาพข่าว อาจารย์ขอชื่นชมกับความสำเร็จที่ได้รับครับ และขอให้พัฒนาตนเองและผลงานเพื่อวิชาชีพและมีจิตสาธารณะ โดยการรู้จักการแบ่งปันสิ่งที่สร้างสรรค์สิ่งรู้ให้สังคมอุดมปัญญากันต่อไป นักศึกษาที่จะเรียนเทอมหน้า ปีการศึกษาที่ 2/2556 ก็เตรียมไว้นะครับ เพราะเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ภาคบังคับใน มคอ 3.ของวิชานี้อยู่แล้ว
Tuesday, June 18, 2013
การประชุมหารือร่วมด้วยช่วยกันจัดการความรู้จากคณาจากทุกสาขาวิชาในคณะมนุษย์ศาสตร์ฯ มจษ.ครั้งที่1/2556
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2556 เวลา 13.30 น.ฝ่ายวิชาการและวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ได้เรียนเชิญคณาจารย์ร่วมระดมความคิดเห็นด้วยกัน โดยการจัดประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระดมสมองเรื่องกรอบและแนวทางคิดเพื่อวางแผนร่วมกันจัดการความรู้ โดยเริ่มจากการประกาศประเด็นหลัก ของการจัดการความรู้ (Knowledge Focus) ของทางมหาวิทยาลัย คือการจัดการความรู้ที่เน้นผู้เรียนเญป็นสำคั(Student Center)ว่าทางคณะฯ จะมีการตั้งประเด็นร่วมสนับสนุน เป็นแนวทางร่วมกันบริหารจัดการโครงการและกิจกรรมนี้ให้สอดรับกันได้อย่างไร มีการนำเสนอตัวอย่างการดำเนินการจัดการความรู้ของผศ.ประชิดทิณบุตร สาขาวิชาศิลปกรรม พอเป็นสังเขป ซึ่งผลจากการร่วมหารือ ที่ประชุมมีมติว่าควรจะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมกันดำเนินงานจากทุกหลักสูตรสาขาวิชา ทั้ง 18 หลักสูตร ซึ่งจะได้นำประเด็นหารือเข้าสู่ที่ประชุมเสนอให้คณะผู้บริหาร(กรรมการบริหารคณะฯ) ช่วยกันตั้งประเด็น ประกาศและร่วมวางแผนกิจกรรม ให้สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ของคณะฯ อันจะนำไปสู่การปฏิบัติของสาขาวิชา > อาจารย์ผู้สอน > เจ้าหน้าที่สนับสนุน ให้เข้าใจตรงประเด็นกัน จนสามารถบังเกิดผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นั่นคือนักศึกษาและประชาชนทั่วไป ได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องอเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดี ให้เหมาะสมกับหลักการของวิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่ร่วมกันประกาศเอาไว้ แต่การที่จะต้องเป็นสถาบันแห่งการเรียนรู้นั้น เหล่าคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาทุกคนในองค์กร ต้องร่วมกันดำเนินการ ต้องให้ความสำคัญว่า เรา-ท่านนั้นจะทำให้สถานบันแห่งนี้ จะเป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้และบริการวิชาการที่บูรณาการองค์ความรู้และภูมิปัญญา ด้านภาษา ศิลปวัฒนธรรม การบริหารรัฐและชุมชนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีขีดความสามารถทางการแข่งขันระดับนานาชาติ ด้วยคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน ได้อย่างไร นัดประชุมครั้งหน้าสัปดาห์ที่ 3 เดือนกรกฎาคม 2556 นะครับ แล้วจะเรียนเชิญต่อไป
คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษาท่านใดอยากมีส่วนร่วมในการดำเนินงานก็เรียนเชิญได้ทุกท่าน โดยการคลิกที่ปุ่ม Join This Site เพื่อรับทราบข่าวสารทางอีเมลจากเว็บบล็อกแห่งนี้ทุกครั้งเมื่อมีการโพสต์ข่าวส่ารลงบล็อก และท่านใดต้องการร่วมเป็นผู้เขียนองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่กิจกรรมหรือโครงการที่ทำอยู่ ขอให้สมัครใช้อีเมลของ gmail.com เพื่อจะเรียนเชิญร่วมเป็นนักเขียน ร่วมบริหารจัดการความรู้และแบ่งปันสู่สังคมให้อุดมปัญญากันต่อไป ส่งแจ้งชื่อที่ human.academic@gmail.comหรือที่ prachid007@gmail.com นะครับ ก่อนอื่นต้องลองศึกษา ทดลองใช้ให้เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่ตัวท่านอย่างไรก่อน จากนั้นจึงจะเข้าสู่โหมดร่วมวงเสวนาหรือการแชร์การอบรมให้กันต่อไป โปรดคอยติดตาม
ประกาศสรุปว่าเมื่อนำเรือ่งเข้าสู่ที่ประชุมกรรมการประจำคณะฯ แล้วก็สรุปเรื่อง KM ออกมาว่าปีการศึกษา 2556นี้ ตกลงกันว่าจะเป็นหัวข้อเรื่องของ e-learning กันนะครับ แล้วจะเริ่มแต่งตั้งคณะกรรมการ เร่งทำโครงการงบประมาณและแผนงานกันต่อไป ช่วงนี้จะเริ่มจากการที่อาจารย์จอยากจะทำเป็น km กลุ่มย่อยไปพลางก่อน คือทำบล็อกประจำรายวิชา แล้วจะหาผู้ช่วยให้ที่คิดไว้คือ TA-KM ครับ
คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษาท่านใดอยากมีส่วนร่วมในการดำเนินงานก็เรียนเชิญได้ทุกท่าน โดยการคลิกที่ปุ่ม Join This Site เพื่อรับทราบข่าวสารทางอีเมลจากเว็บบล็อกแห่งนี้ทุกครั้งเมื่อมีการโพสต์ข่าวส่ารลงบล็อก และท่านใดต้องการร่วมเป็นผู้เขียนองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่กิจกรรมหรือโครงการที่ทำอยู่ ขอให้สมัครใช้อีเมลของ gmail.com เพื่อจะเรียนเชิญร่วมเป็นนักเขียน ร่วมบริหารจัดการความรู้และแบ่งปันสู่สังคมให้อุดมปัญญากันต่อไป ส่งแจ้งชื่อที่ human.academic@gmail.comหรือที่ prachid007@gmail.com นะครับ ก่อนอื่นต้องลองศึกษา ทดลองใช้ให้เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่ตัวท่านอย่างไรก่อน จากนั้นจึงจะเข้าสู่โหมดร่วมวงเสวนาหรือการแชร์การอบรมให้กันต่อไป โปรดคอยติดตาม
ประกาศสรุปว่าเมื่อนำเรือ่งเข้าสู่ที่ประชุมกรรมการประจำคณะฯ แล้วก็สรุปเรื่อง KM ออกมาว่าปีการศึกษา 2556นี้ ตกลงกันว่าจะเป็นหัวข้อเรื่องของ e-learning กันนะครับ แล้วจะเริ่มแต่งตั้งคณะกรรมการ เร่งทำโครงการงบประมาณและแผนงานกันต่อไป ช่วงนี้จะเริ่มจากการที่อาจารย์จอยากจะทำเป็น km กลุ่มย่อยไปพลางก่อน คือทำบล็อกประจำรายวิชา แล้วจะหาผู้ช่วยให้ที่คิดไว้คือ TA-KM ครับ
Tuesday, June 11, 2013
ยินดีต้อนรับสู่มหาวิทยาลัยของเรา ในปีการศึกษา 2556
Wednesday, May 22, 2013
การอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาให้แก่บุคลากร ประจำปีการศึกษา 2555
ฝ่ายประกันคุณภาพ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จัดการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาให้แก่บุคลากร ประจำปีการศึกษา 2555 ณ ศูนย์การศึกษาการพัฒนาครู คณะศึกษาศาสตร์ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยมีผู้แทนจากทั้ง 17 สาขาหลักสูตรวิชามาร่วมกันทำงานอย่างตั้งมั่น พิธีเปิดโดยท่านคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไปเป็นเกียรติในพิธี ประมวลภาพกิจกรรมคลิกที่นี่
Saturday, May 18, 2013
อบรมอาจารย์ศิลปกรรม มจษ. ทักษะการใช้งานโปรแกรมประมวลผลกลุ่มเมฆ cloud computing tools
โครงการถ่ายทอดประสบการณ์ ด้านการประยุกต์ใช้งานโปรแกรมระบบจัดการความรู้ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ทั้งผู้เรียนและผู้สอน ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการความรู้ ChandraOnline : จันทราออนไลน์ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการความรู้
โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะมนุษย์ศาสตร์ฯ ได้จัดอบรมอาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปกรรม มจษ เรื่องทักษะการใช้งานโปรแกรมประมวลผลกลุ่มเมฆ cloud computing tools เพื่อการจัดการความรู้อย่างพอเพียง ให้อาจารย์ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการเรียนรู้รองรับและสอดรับกับเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนแปลง แบบก้าวกระโดด โดยจัดขึ้นในวันที่ 15/5/2556 ห้องกราฟิก 2 อาคาร 32 ชั้น 5 เวลา 9.30 น-18.00 น. โดยมีอาจารย์เข้าร่วมฝึกอบรมจำนวน 7 ท่านโดยมีนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย วิชาเอกออกแบบนิเทศศิลป์ร่วมรับบทบาทในฐานะเป็นผู้ช่วยร่วมเรียนรู้ ตามที่เคยเรียนรู้จากวิทยากรมาก่อน
โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะมนุษย์ศาสตร์ฯ ได้จัดอบรมอาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปกรรม มจษ เรื่องทักษะการใช้งานโปรแกรมประมวลผลกลุ่มเมฆ cloud computing tools เพื่อการจัดการความรู้อย่างพอเพียง ให้อาจารย์ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการเรียนรู้รองรับและสอดรับกับเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนแปลง แบบก้าวกระโดด โดยจัดขึ้นในวันที่ 15/5/2556 ห้องกราฟิก 2 อาคาร 32 ชั้น 5 เวลา 9.30 น-18.00 น. โดยมีอาจารย์เข้าร่วมฝึกอบรมจำนวน 7 ท่านโดยมีนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย วิชาเอกออกแบบนิเทศศิลป์ร่วมรับบทบาทในฐานะเป็นผู้ช่วยร่วมเรียนรู้ ตามที่เคยเรียนรู้จากวิทยากรมาก่อน
Tuesday, May 14, 2013
รายงานผลการดำเนินงานรายวิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์ (มคอ5)
Thursday, April 18, 2013
Ginger's Proofreading Software – No More Grammar & Spelling Mistakes
ตัวช่วยสำหรับการตรวจสอบการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารหรือการพิมพ์ เช่นการสะกดคำ การใช้ไวยากรณ์ ใช้ตรวจสอบการพิมพ์ร่วมกับโปรแกรมสำนักงานทั่วไปได้ด้วย ที่สำคัญคือติดตั้งใช้งานได้ฟรี ทั้งพีซีและมือถือ มีคนโหลดใช้งานแล้วกว่า 5,000 ล้านครั้งแล้ว นักศึกษาหรือทุกท่านอาจารย์เองก็ควรมีไว้ใช้งาน จะได้ไม่พิมพ์ภาษาอังกฤษผิดพลาดและยังได้ฝึกฝนภาษาสากลไว้ประดับความมั่นใจในการใช้ชีวิตยุคนี้ได้อย่างสบายใจ ของดีนี้หาได้ จาก www.Gingersoftware.com ต่อไปเวลาตรวจคำผิดคงต้องคลิก Ginger It! เป็นแน่แท้
Saturday, April 13, 2013
รายงานการเดินทางไปปฏิบัติราชการศึกษาดูงานและเจรจาความร่วมมือตามข้อตกลงทางการจัดการศึกษา ทางวิชาการและแสวงหาความร่วมมือใหม่ กับสถานศึกษาในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
Sunday, March 17, 2013
พิธีมอบวุฒิบัตรแก่นักศึกษาจีน ที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทย ในโครงการจัดการศึกษานักศึกษาจีน ประจำปีการศึกษา 2555
Chandrakasem : Thai Language Course for Chinese Student : Diploma Ceremony on March 9, 2013 พิธีมอบวุฒิบัตรแก่นักศึกษาจีน ที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทย ในโครงการจัดการศึกษานักศึกษาจีน โครงการจัดการศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประจำปีการศึกษา 2555. จำนวนทั้งสิ้น 77 คน
Saturday, February 16, 2013
การพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ลานธรรมและส่วนพื้นที่แนวรั้วด้านหลังอาคาร 3และ3/1
คณะผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เข้าสำรวจตรวจการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ลานธรรมและส่วนพื้นที่แนวรั้วด้านหลังอาคาร 3และ3/1 เตรียมปูกระเบื้องและเตรียมสำรวจพื้นที่โครงการสวนสมุนไพร ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม.ด้วยงบประมาณล้านกว่าบาท
Friday, February 15, 2013
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาให้แก่นักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2555
ฝ่ายงานประกันคุณภาพการศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาให้แก่นักศึกษา" ประจำปีการศึกษา 2555 ในช่วงวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2556 ณ ห้องแสดงผลงานชั้นล่างอาคาร 28 หรือห้อง 2811 อาคาร 28 (ใต้อาคารเรียนรวมห้องกระจก ชั้น 1) โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 1-3 จากทุกสาขาหลักสูตร ร่วม 15 หลักสูตรเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ ร่วม 100 กว่าคน โดยมีอาจารย์ชนกานต์ สุวรรณทรัพย์และทีมงานจากคณะศึกษาศาสตร์ มาเป็นวิทยากรฝึกอบรมให้ความรู้แก่นักศึกษาในครั้งนี้
ฝ่ายกิจการนักศึกษาโดยสโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เลือกตั้งนายกสโมสรนักศึกษาใหม่
ฝ่ายกิจการนักศึกษาโดยสโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เลือกตั้งประธานหรือนายกสโมสรนักศึกษาคนใหม่ ในวันที่ 14 ก.พ. 2556 โดยมีนักศึกษาภายในคณะฯมาร่วมลงคะแนนเลือกตั้งร่วม 500 คน
การแสดงโขนผู้หญิง ตอนวิรุณจำบัง ของสาขาวิชานาฏศิลปฺและการแสดง
Wednesday, February 13, 2013
นักศึกษาสาขาวิชาศิลปกรรมและสาขาวิชาภาษาไทย รับรางวัล ชนะเลิศ ชมเชย และเกียรติบัตร จากงานโครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้แก้วน้ำส่วนตัว ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
นักศึกษาสาขาวิชาศิลปกรรมและสาขาวิชาภาษาไทย รับรางวัล ชนะเลิศ ชมเชย และเกียรติบัตร ในการประกวดสื่อสัญลักษณ์(Mascotและการประกวดคำขวัญของโครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้แก้วน้ำส่วนตัว ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 ณ บริเวณลานประชาสัมพันธ์
บรรยากาศและกิจกรรมวันมนุษย์วิชาการ 2555 วันที่ 13 กพ. 2556
บรรยากาศและกิจกรรมวันมนุษย์วิชาการ 2555 วันที่ 13 กพ. 2556
ผลการประกวดสื่อสัญลักษณ์(Mascot)โครงการรณรงค์การใช้แก้วน้ำประจำตัว นักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษย์ ฯ ได้รับรางวัลชนะเลิศพร้อมเกียรติบัตร
ผลการตัดสินสื่อสัญลักษณ์โครงการรณรงค์การใช้แก้วน้ำส่วนตัว
ประกาศผลการประกวดสื่อสัญลักษณ์(Mascot)โครงการรณรงค์การใช้แก้วน้ำประจำตัว มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปี 2556 มัผู้ส่งผลงานเข้าประกวดรวม 92 ผลงาน ผลการตัดสินจากคณะกรรมการ ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศที่ 1 ได้รับเงินรางวัล 4,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร เป็นผลงานของนายวิเชษฎ ของครบ นักศึกษาวิชาเอกออกแบบประยุกต์ศิลป์ ชั้นปีที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังตมศาสตร์ และรางวัลที่ 2 เป็นรางวัลชมเชยได้รับเงินรางวัล 1,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร ผลงานของนางสาวกานต์ธีรา คำปล้อง ชื่อผล งานน้องน้ำใส นักศึกษาวิชาเอกออกแบบนิเทศศิลป์ ชั้นปีที่ 5 คณะมนุษยศาสตร์และสังตมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และยังมีผู้ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลเกียรติบัตร อีก 12 คน โดยจะมีพิธีมอบรางวัล ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ื2556 นี้ เนื่องในงานวันรณรงค์การใช้แก้วน้ำส่วนตัว โดยมีคณะกรรมการตัดสินจำนวน มี 5 ท่านคือ อ.นันทวรรณ อ.ประชิด อ.ไชยพันธ์ อ.อมร และ อ.แดน ดูภาพกิจกรรมการตัดสินเพิ่มเติมได้ที่ https://picasaweb.google.com/106859402467376205758/2556
Monday, February 11, 2013
งาน Gift on the Moon 2013:Retro Episode ของสาขาวิชาศิลปกรรม
บรรยากาศงานวันแรก-พิธีเปิดงาน-การมีส่วนร่วมในกิจกรรมเสริมหลักสูตรและเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางศิลปกรรม ประจำปีการศึกษา 2555 งาน Gift on the Moon 2013:Retro Episode ของสาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม. ณ บริเวณหน้าอาคาร 28-หอส้มตำ ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์และผลงานที่เกิดจากการบูรณาการการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของแต่ละชั้นปี ในศาสตร์สาระของหลักสูตรสาขาวิชาศิลปกรรม และเป็นหนึ่งในกิจกรรมของสัปดาห์มนุษย์วิชาการ ประจำปีการศึกษา 2555 ระยะเวลาจัดงาน 3 วัน ไปกระทั่งถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556
Friday, February 8, 2013
ศิลปกรรมสัมมนา 2555:สัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การเขียนภาพประกอบทางพฤษศาสตร์
สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิืทยาลัยราชภัฏจีนทรเกษม จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การเขียนภาพประกอบทางพฤษศาสตร์ โดยมีวิทยากรคือ อาจารย์วรภัทร กอบสันเทียะ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน มาบรรยายและสาธิต ณ อาคาร32 ชั้น2 (อาคารกิจการนักศึกษา) เวลา 13.00-16.30 น.งานนี้ศิลปกรรมปี 4 ออกแบบประยุกต์ศิลป์เป็นผู้ดำเนินการ ภายใต้การนิเทศของ ผศ.กรรัตน์ พ่วงพงษ์ งานสำเร็จลงด้วยดี และมีการจัดสัมมนาเป็นประจำทุกปีการศึกษาและจัดเข้าเป็นวาระ สาระและกิจกรรมหลักในสัปดาห์มนุษย์วิชาการ ในภาคเรียนที่ 2 ของทุกปี
Thursday, February 7, 2013
English Activity Day 2012
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ฯจัดกิจกรรมเชิงบูรณาการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษและการใช้งานจริงกับกิจกรรมประจำปี " English Activity Day 2012 " ซึ่งได้รับการตอบรับจากมหาวิทยาลัยต่างๆเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้กว่า 16 สถาบัน ทั้งกิจกรรมการกล่าวสุนทรพจน์เป็นภาษาอังกฤษและการถามตอบคำถามภาษาอังกฤษ รวมทั้งเข้าร่วมชมการใช้ทักษาะทางภาษาอังกฤษผ่านละครและการแสดงในศาสตร์ต่างๆของนักศึกษาเอกภาษาอังกฤษทั้ง 4 ชั้นปี ณ ห้องประชุมชั้น 3 และชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา ดูภาพกิจกรรมได้ที่ http://humannet.chandra.ac.th
ศิลปกรรมสัมมนาทางวิชาการ : การบรรยายพิเศษเรื่องการเขียนภาพประกอบทางพฤษศาสตร์ ;วันที่ 8 กุมภาพันธ์
ศิลปกรรมสัมนา 2556 : สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสต ร์ มหาวิืทยาลัยราชภัฏจีนทรเกษ ม ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมฟังกา รบรรยายพิเศษเรื่องการเขียน ภาพประกอบทางพฤษศาสตร์ โดย อาจารย์วรภัทร กอบสันเทียะ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญกา รพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตร ณ อาคาร32 ชั้น2 (อาคารกิจการนักศึกษา) เวลา 13.00-16.30 น. ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ งานนี้ศิลปกรรมปี 4 ออกแบบประยุกต์ศิลป์เป็นผู้ ดำเนินการภายใต้การนิเทศของ ผศ.กรรัตน์ พ่วงพงษ์
นศ.ศิลปกรรม ออกแบบนิเทศศิลป์ ผ่านการพิจารณาคัดเลือกการนำเสนอแนวคิดโครงการการสร้างสรรค์สื่อใหม่เข้ารอบที่ 1 จากโครงการเด็กเฮ้ว ของ สสส.
ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษา วิชาเอกออกแบบประยุกต์ศิลป์ สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาส ตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ชั้นปีที่ 3 ที่เรียนวิชาออกแบบภาพเคลื่ อนไหว ได้ผ่านการพิจารณาคัดเลือกการนำเสนอแนวคิดโครงการการสร้างสรรค์สื่อใหม่เ ข้ารอบที่ 1 จากโครงการเด็กเฮ้ว ของ สสส. จำนวน 2 คน คือจุรารัตน์( inspire)และ ไตรรงค์ ประเภทสื่อใหม่สู้ๆนะครับ เห็นม๊ะอาจารย์ว่าแล้ว ว่าอย่าอยู่แต่ในกะลา และวันนี้โจทย์ชีวิตเริ่มเข ้ามาแล้ว โอกาสมีต้องรีบสำแดงพลัง ทำให้ทลุความคิดสร้างสรรค์ท ี่วางไว้และให้ได้รับรางวัล มาฝากอาจารย์-มหาวิทยาลัยให ้ได้ ให้เข้าปรึกษาอาจารย์และทีม งาน คู่ต่อสู้คือใครก็ดูชื่อสถา บันเอาเอง อย่าเกรง หากรู้ว่าเราก็เป็นศิษย์มีค รู-อาจารย์เช่นกัน ดูที่
http://dekhealth.com/
Sunday, February 3, 2013
ประชุมผู้บริหารและประธานสาขาวิชาฯเพื่อเตรียมจัดงานวันมนุษย์วิชาการ ปีพ.ศ. 2556
Sunday, January 13, 2013
บรรยากาศการlสัมภาษณ์นักศึกษาใหม่ปีการศึกษา 2556 รอบ ที่ 1
บรรยากาศการรับนักศึกษาใหม่ปีการศึกษา 2556 รอบ ที่ 1 การสอบปฏิบัติและการสัมภาษณ์ผู้ที่สอบผ่านข้อเขียน ของสาขาวิชาต่างๆ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม. เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2556 ตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น ที่อาคารกาญจนาภิเษก และที่อาคารที่ตั้งทำการของสาขาวิชา โดยมีรายชื่อผู้สอบผ่านข้อเขียนเข้ารอบมาสัมภาษณ์ จำนวน 472 คน ซึ่งผลการสอบก็คงจะประกาศแจ้งไว้ที่ระบบe-admission ของมหาวิทยาลัยต่อไป
Subscribe to:
Posts (Atom)