Tuesday, November 5, 2013

ผลการสำรวจแบบสำรวจความพึงพอใจและความต้องการของบุคลากรด้านการจัดการความรู้ภายในคณะมนุษย์ 2556

ผลการสำรวจแบบสำรวจความพึงพอใจและความต้องการของบุคลากรด้านการจัดการความรู้ภายในคณะมนุษย์ 2556 เมื่อช่วงปลายเดือนตุลาคม มีผู้ให้ความร่วมมือตอบแบบสำรวจ รวม 18 คน มาลองกดเล่น 1 คน จากการส่งเชิญตอบทางอีเมล 69 คน ส่งเชิญทางกลุ่ม Line 25 คน แจ้งข่าวและติดตามทาง facebook ของกลุ่มคณะ 2 ครั้ง เครื่องมือใช้แบบสอบถามออนไลน์ของ murvey.com ระยะเวลาเปิดแบบสำรวจ 15 วัน ได้ผลดังภาพครับ (คลิกขยาย)

มีผู้เสนอความคิดเห็นไว้ดังนี้ครับ จาก 1 ท่าน
 1.ต้องการให้มหาวิทยาลัยมีการจัดอบรมโครงการเข้าสู้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นประจำอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยก็ปีละหนึ่งครั้ง
2.ต้องการให้มหาวิทยาลัยสร้างกระบวนการการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่ชัดเจน เช่น ออกประกาศหรือระเบียบให้ชัดเจนว่าการเผยแพร่ผลงานวิชาการประเภทต่างๆของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมต้องเผยแพร่ไปที่ห้องสมุดอย่างน้อยกี่แห่ง 
3.ในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาต่างประเทศ จึงต้องการให้มหาวิทยาลัยแก้ไขสัญญาจ้างว่างานแปลก็นำมาใช้ต่อสัญญาจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยได้เช่นกัน เพราะในประกาศกพอ.ก็ให้ความสำคัญงานวิชาการประเภทงานแปลว่าสามารถใช้ขอตำแหน่งทางวิชาการได้ด้วยเช่นกัน แต่ทำไมการต่อสัญญาจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการกลับใช้งานแปลต่อสัญญาจ้างไม่ได้ ถ้าในระเบียบ / ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยไม่มีก็ควรจะปรับแก้ให้ทันสมัยตามประกาศกพอ. เพราะงานแปลก็เป็นผลงานวิชาการที่สำคัญพอๆกับผลงานวิชาการประเภทอื่นๆเช่นกัน 
4.ต้องการให้มหาวิทยาลัยจัดคลินิกสำหรับให้คำปรึกษาอาจารย์รุ่นใหม่ๆเกี่ยวกับปัญหาที่ประสบพบเจอระหว่างการทำผลงานทางวิชาการและขั้นตอนการขอตำแหน่งวิชาการ 
5.ต้องการให้มหาวิทยาลัยจัดสถานที่เฉพาะเพื่อให้อาจารย์สามารถเขียนผลงานวิชาการได้เต็มที่

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือ และผลการสำรวจเล็กๆนี้ คงจะสะท้อนความพร้อมของประชาคมแห่งนี้ได้บ้าง หากท่านใดต้องการเสนอแนะเพิ่มเติมก็สามารถ Comment แสดงความคิดเห็นในตอนท้ายบล็อกนี้ได้ทุกเวลานะครับ แล้วจะประสานงานเพื่มเติม และคงจะให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน เพราะ KM นั้นเป็นเรื่องของทุกคน ที่ต้องลงมือปฏิบัติงานเป็นปกติกันอยู่แล้ว ประเด็นที่ตกลงกันเป็นหลักของคณะเราก็คงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ e-learning หรือมุ่งสู่ประเด็น การพัฒนาทักษะไอซีทีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพพการทำงานประจำคามหน้าที่  ซึ่งไม่จำเป็นต้องมาพบปะตามเงื่อนเวลาทุกวันพุธบ่ายก็เป็นได้ หากแต่ควรเป็นการสังคมการร่วมเรียนรู้แบบผสมผสาน ตามกาละและเวลาที่อำนวย โดยปรับประยุกต์ใช้ทักษะชีวิตที่ผสานกับเครื่องมือและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม และความพร้อมของปัจเจกบุคคล แบบ Snow Ball ที่ต้องพึ่งพาอาศัยกำลังของทุกคน ต้องช่วยกันขยับและขับเคลื่อน  ยิ่งเคลื่อนที่ก็ยิ่งก้อนโตและมีพลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนั่นเอง

No comments:

Post a Comment

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...