Sunday, April 29, 2012

Free Online Spell Checker : ตรวจสอบการสะกดและการเขียนภาษาอังกฤษฟรีออนไลน์


  อย่างไรก็ดีในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนก็ต้องหาทางช่วยกันต่อไป เพราะเมื่อเรียนถึงขั้นปีที่ 4 หรือปริญาโทก็หนีไม่พ้นที่ต้องเขียนบทคัดย่องานวิจัยหรือเล่มศิลปนิพนธ์อยู่ดี หรือแม้ผมเองทำวิจัยหรืออาจารย์ท่านใดก็ต้องทำเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องหมั่นค้นหาเครื่องมือช่วยมาฝาก เช่นในที่นี้คือการแนะนำให้ใช้เว็บไซต์บริการตรวจสอบตรวจทานการเขียนและการสะกดคำภาษาอังกฤษของเรา แบบฟรีทางระบบออนไลน์ วิธีการฝึกก็ง่ายๆ แนะนำให้เริ่มจากกูเกิ้ลก่อน  เช่นเขียนประโยคภาษาไทยให้กูเกิ้ลแปลเป็นภาษาอังกฤษ จะพอมองเห็นรูปประโยค ก็ลองโยกย้ายและเลือกคำที่มีความหมายเหมาะสมตรงกับเนื้อความที่เราเห็นว่าเป็นคำที่ตรงกับสาระหลัก ซึ่งในเบื้องต้นนี้กูเกิ้ลก็จะพยายามผูกประโยคตามหลักไวยากรณ์ให้บ้าง แต่เป็นคำที่ไม่ซัปซ้อนนัก ท่านก็ต้องดูเอง ว่าการลำดับคำและ ไวยากรณ์ถูกต้องตามรูปประโยคหรือไม่ แล้วก็อปปี้ไปวางในกรอบหนาเว็บไซต์ ที่ขอแนะนำให้ลองสักสองสามที่ 2 แห่งที่ใช้งานง่ายคือที่ Spellcheckerplus.com  และที่ http://www.spellchecker.net/spellcheck ลองทำดูตามคำอธบายตามภาพเองก็แล้วกันนะครับ ส่วนจะถูกต้องจริงหรือไม่นั้น เขาไม่บอกและแนะนำไว้ ต้องใช้สติปัญญาของตัวท่านและหาตัวช่วยที่เก่งภาษาอังกฤษโดยตรงมาช่วยตรวจสอบอีกครั้ง จะดีกว่า หากยากได้คำอธิบายที่มากกว่าก็ต้องเสียเงินนะครับ ลองดูตามตัวอย่างภาพดู เฝื่อได้ประโยชน์และแนวทางการเตรัยมต้วการเขียนภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง และมีทิศทางแห่งหารเรียนรู้ ก็ลองดูนะครับ
    ผู้อ่านหลายท่านคงเคยใช้ Google Translate แปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย หรือในทางกับกัน ก็ให้แปลไทยเป็นอังกฤษซะเลยก็มี ลูกศิษย์ผมเองก็สอนให้เขาใช้แปลข่าวส่งรายงานหน้าชั้นเรียนเปป็นประจำทุกเช้าที่เข้าเรียนหรือก่อนเรียนเนื้อหาหลัก เพื่อเป็นการฝึกภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเผื่อรับงา่นกับฝรั่งเขาได้ หรือไม่ก็เพื่อให้สอดรับกับการเตรียมคนให้เข้ากับนโยบายของรัฐบาลนั่นคือ การเตรียมกำลังคนให้พร้อมเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน ในปี 2558 ที่จะมาถึงในอีกไม่กี่ปีนี้(ปัจจุบันนี่คือปี 2555)
    แต่คำแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย หรือไทยเป็นอังกฤษของกูเกิ้ลนั้น เป็นการแปลแบบตรงตัวด้วย Robot ซึ่งอาจจะมีตัวเลือกคำต่างๆให้เลือก โดยการเน้นคำแปลความหมายของคำด้วยพื้นสีเหลือง ซึ่งผู้นำไปใช้ต้องมีความรู้หรือทักษะการแปลความในศาสตร์หรือเนื้อหาที่แปล ด้วยการนำมาใช้งานเหมือนการเปิดใช้ดิกชันนารี ไม่เหมาะกับการมาใช้งานโดยตรงเพราะอ่านแล้วไม้รู้เรื่องนั่นเอง แต่จะบอกจะสอนอย่างไรก็ตาม ก็ยังมีนักศึกษาส่งรายงานแบบก็อปปี่มาวางและส่งโดยตรงก็มีแทบทุกเทอมไป เมื่อวิจารณ์แล้วก็ยังไม่พยามยามปรับแก้ มีแค่ประมาณ 5-7เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ปรับแก้และพยายามเขียนเรียบเรียงขึ้นมาเอง โดยเฉพาะในการแปล-สรุปเป็นบทความส่งเป็นภาษาไทย แต่ก็ยังเป็นการเขียนแบบสั้นๆไม่ได้ใจความอยู่ดี อันแสดงถึงความอ่อนแอทางความรู้ในสิ่งที่สนใจศึกษาหรือยังขาดความตั้งใจฝึกฝนทักษะการเขียน เพียงแค่เอาเครื่องมือที่เราพร่ำสอนมาทำแบบส่งๆแบบขอให้มีส่งเพื่อให้ได้คะแนนเท่านั้นเอง ได้แค่ไหนดีอย่างไรไม่สำคัญ คะแนนที่ได้จึงยังไม่ถึง 2 แต้มสักคน

No comments:

Post a Comment

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...