Wednesday, December 18, 2013

ขอความร่วมมือในการตอบแบบสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพบัณฑิต

แจ้งข่าวถึงบัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่จะรับปริญญาในปี 2557 นี้ ทุกท่าน
ทางฝ่ายวิชาการและวิจัยขอความร่วมมือในการตอบแบบสำรวจ โดยทางฝ่ายฯได้ทำแบบสำรวจและจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพบัณฑิตทุกสาขาไว้ให้ตอบทางออนไลน์ดังนี้คือ
1. แบบสำรวจความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต (ช่วยเรียนเชิญหรือส่งลิงค์นี้ให้ผู้จัดการหรือหนัวหน้างานช่วยตอบ) โดยตรงคลิกที่นี่https://docs.google.com/forms/d/160bWiPRTeYWDCaQbZnwOV5QtxVIbda9Lwg21joK7qTY/viewform
2. แบบสำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิต (บัณฑิตตอบเอง) โดยตรงคลิกที่นี่https://docs.google.com/forms/d/1DKbDaSRXpA6yNw4Rbat1Z2Nxtyz0AwygImAq3d113xg/viewform
เพื่อเป็นฐานข้อมูลด้านประกันคุณภาพการศึกษาให้แก่ทุกสาขาวิชาที่ท่านจบการศึกษาไปแล้วช่วง 1-3 ปี
ดังนั้นทางฝ่ายวิชาการและวิจัยจึงขอความร่วมมือให้ทุกท่านช่วยอ่านทำความเข้าใจ และชี้แจงการทำแบบสำรวจ ติดตามเพื่อนบัณฑิต หรือศิษย์เก่า ให้มาช่วยตอบแบบสำรวจนี้ได้ตลอดเวลา หรือเข้าทำได้จากหน้าเว็บของคณะมนุษย์ http://humannet.chandra.ac.th/ ให้แล้วเสร็จก่อนวันซ้อมใหญ่รับปริญญาในปี พศ.2557 นี้ ครับ

Saturday, December 7, 2013

การเผยแพร่ผลงานวิจัยชุดการออกแบบพัฒนาแบบตัวพิมพ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร

การเผยแพร่ผลงานวิจัยชุดการออกแบบพัฒนาแบบตัวพิมพ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร ที่ประกอบด้วยไฟล์คอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ โดยใช้ชื่อว่าชุดแบบตัวพิมพ์ตระกูลซีอาร์ยู พร้อมสัญญาอนุญาตสิทธิ์ผู้ใช้ จำนวน 4 ชุด คือฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู จันทร์จรัส 56 ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู จันทรา 56 ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู จันทรเกษม 56 และฟ้อนต์ ตระกูลซีอาร์ยู ลานจันทร์ 56 รวม 24 ฟ้อนต์ 24 รูปแบบน้ำหนัก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม สามารถดาวน์โหลดผลงานวิจัยฟ้อนต์ทั้ง 24 แบบ ได้ที่ http://www.chandrakasem.info/?page_id=60

Tuesday, November 5, 2013

ผลการสำรวจแบบสำรวจความพึงพอใจและความต้องการของบุคลากรด้านการจัดการความรู้ภายในคณะมนุษย์ 2556

ผลการสำรวจแบบสำรวจความพึงพอใจและความต้องการของบุคลากรด้านการจัดการความรู้ภายในคณะมนุษย์ 2556 เมื่อช่วงปลายเดือนตุลาคม มีผู้ให้ความร่วมมือตอบแบบสำรวจ รวม 18 คน มาลองกดเล่น 1 คน จากการส่งเชิญตอบทางอีเมล 69 คน ส่งเชิญทางกลุ่ม Line 25 คน แจ้งข่าวและติดตามทาง facebook ของกลุ่มคณะ 2 ครั้ง เครื่องมือใช้แบบสอบถามออนไลน์ของ murvey.com ระยะเวลาเปิดแบบสำรวจ 15 วัน ได้ผลดังภาพครับ (คลิกขยาย)

มีผู้เสนอความคิดเห็นไว้ดังนี้ครับ จาก 1 ท่าน
 1.ต้องการให้มหาวิทยาลัยมีการจัดอบรมโครงการเข้าสู้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นประจำอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยก็ปีละหนึ่งครั้ง
2.ต้องการให้มหาวิทยาลัยสร้างกระบวนการการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่ชัดเจน เช่น ออกประกาศหรือระเบียบให้ชัดเจนว่าการเผยแพร่ผลงานวิชาการประเภทต่างๆของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมต้องเผยแพร่ไปที่ห้องสมุดอย่างน้อยกี่แห่ง 
3.ในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาต่างประเทศ จึงต้องการให้มหาวิทยาลัยแก้ไขสัญญาจ้างว่างานแปลก็นำมาใช้ต่อสัญญาจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยได้เช่นกัน เพราะในประกาศกพอ.ก็ให้ความสำคัญงานวิชาการประเภทงานแปลว่าสามารถใช้ขอตำแหน่งทางวิชาการได้ด้วยเช่นกัน แต่ทำไมการต่อสัญญาจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการกลับใช้งานแปลต่อสัญญาจ้างไม่ได้ ถ้าในระเบียบ / ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยไม่มีก็ควรจะปรับแก้ให้ทันสมัยตามประกาศกพอ. เพราะงานแปลก็เป็นผลงานวิชาการที่สำคัญพอๆกับผลงานวิชาการประเภทอื่นๆเช่นกัน 
4.ต้องการให้มหาวิทยาลัยจัดคลินิกสำหรับให้คำปรึกษาอาจารย์รุ่นใหม่ๆเกี่ยวกับปัญหาที่ประสบพบเจอระหว่างการทำผลงานทางวิชาการและขั้นตอนการขอตำแหน่งวิชาการ 
5.ต้องการให้มหาวิทยาลัยจัดสถานที่เฉพาะเพื่อให้อาจารย์สามารถเขียนผลงานวิชาการได้เต็มที่

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือ และผลการสำรวจเล็กๆนี้ คงจะสะท้อนความพร้อมของประชาคมแห่งนี้ได้บ้าง หากท่านใดต้องการเสนอแนะเพิ่มเติมก็สามารถ Comment แสดงความคิดเห็นในตอนท้ายบล็อกนี้ได้ทุกเวลานะครับ แล้วจะประสานงานเพื่มเติม และคงจะให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน เพราะ KM นั้นเป็นเรื่องของทุกคน ที่ต้องลงมือปฏิบัติงานเป็นปกติกันอยู่แล้ว ประเด็นที่ตกลงกันเป็นหลักของคณะเราก็คงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ e-learning หรือมุ่งสู่ประเด็น การพัฒนาทักษะไอซีทีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพพการทำงานประจำคามหน้าที่  ซึ่งไม่จำเป็นต้องมาพบปะตามเงื่อนเวลาทุกวันพุธบ่ายก็เป็นได้ หากแต่ควรเป็นการสังคมการร่วมเรียนรู้แบบผสมผสาน ตามกาละและเวลาที่อำนวย โดยปรับประยุกต์ใช้ทักษะชีวิตที่ผสานกับเครื่องมือและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม และความพร้อมของปัจเจกบุคคล แบบ Snow Ball ที่ต้องพึ่งพาอาศัยกำลังของทุกคน ต้องช่วยกันขยับและขับเคลื่อน  ยิ่งเคลื่อนที่ก็ยิ่งก้อนโตและมีพลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนั่นเอง

Wednesday, October 30, 2013

สไลด์คำบรรยายเรื่อง การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้งานวิจัย


Ict – kms supports for researcher สไลด์คำบรรยายเรื่อง การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้งานวิจัย การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1 โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2556 จัดโดยฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม.

Tuesday, October 29, 2013

นโยบายและระบบการวิจัยของประเทศ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

นโยบายและระบบการวิจัยของประเทศ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
โดยนายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ


 สรุปประเด็นที่น่าสนใจ
วิจัยเป็นเครื่องมือในการเติมเต็มองค์ความรู้ที่ยังขาดอยู่
ประเด็นการวิจัยมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ/สังคม อาทิเช่น
-เศรษฐกิจ/การเงิน
-โรคติดต่อ
-พลังงาน
-โครงสร้างประชากร กำลังเข้าสู่ยุคผู้สูงอายุ
-อาหาร
-มลภาวะ ผลจากการกินอยู่ิ
-  การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ (ไฟป่า  พายุ  น้ำิท่วม  ภัยแล้ง  สึนามิ แผ่นดินไหว  น้ำแข็งขั้วโลกละลาย


สภาพความรู้ที่ได้จากการวิจัย  ถ่ายทอด
- สังคมที่ต้องการความรวดเร็ว  แ็ข่งขัน  
-การ เลียนแบบ  
-ถ่ายทอดองค์ความรู้ในรูปของเอกสาร หนังสือ ตำรา


หน่วยงานวิจัย ควรต้องมี
- มาตรฐาน (การทำงานวิจัย  ผู้วิจัยต้องมีพื้นฐานการทำงานวิจัยที่เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะงานวิจัยระดับพื้นฐานต้องได้คุณภาพ)
-สัมฤทธิผล


เครือข่ายองค์การบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช)
-วช
-สกว
-สวก
-สวรส
-สกอ
-สวทช
-สวทน
สถานภาพปัญหาเมื่อก่อนของเครือข่าย ทุกหน่วยงานปฏิบัติงานแข่งกัน ยังไม่มีเอกภาพ  ต้องเข้าใจว่าทุกศาสตร์ต้องเป็น multi-disciplinary ไม่ใช่ทำงานแบบหน้าเดียว ต้องมองให้ครอบคลุมและร่วมมือกันมากกว่านี้ จะให้ทุกคนเข้าไปมีส่วนร่วมกันอย่างไร
ปัจจุบัน เริ่มคุยกันเป็นเครือข่ายและเริ่มวางแผนร่วมกันและต้องการขยายเครือข่ายไปเป็นกลุ่มย่อยอื่นๆ ร่วมกันเพื่อปฏิรูปการวิจัย โดยหน่วยงาน วช และ 5ส


ผลจากการปฎิรูประบบวิจัย
-มีการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีวิจัยชัดเจน กำหนดกลุ่มต่างๆให้ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน เช่น มหาวิทยาลัยอยู่ในกลุ่มผู้ใช้งานวิจัย
-ปฏิรูประบบบริหารจัดการงานวิจัย > วิจัยมุ่งเป้า เป็นรายประเด็น เช่น ปี 2555 มี 5 เรื่อง เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง การท่องเที่ยว โลจิสติก ตั้งงบจัดสรร งปม.ให้ดำเนินการโดยตรง แต่ก่อน วช.กำหนดเอง แต่ปัจจุบันมอบให้หน่วยงานที่เชี่ยวชาญไปดำเนินการ วช.เป็นผู้อำนวยการ ต้นน้ำและปลายน้ำ มีคณะดำเนินงานร่วมกันเป็นภาคีวิจัย โดยให้หน่วยงานต่างๆที่มีแผนงานวิจัยมาร่วมวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธและยุทธศาสตร์เฉพาะทางร่วมกัน เป็นชุดเดียวกัน ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติร่วมกัน


-กำหนดงบประมาณวิจัยล่วงหน้าอย่างท้าทาย
-มีการกำหนดมาตรฐานการวิจัยที่ครอบคลุม
-มีการติดตาม


การจัดทำฐานข้อมูล 5 ระบบ
-ฐานข้อมูลผลงานที่เสร็จแล้ว TNRR
-ฐานข้อมูลงานวิจัยที่กำลังดำเนินการ
-ฐานข้อมูลนักวิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิ
-ฐานข้อมูลที่ไปสู่การใช้ประโยชน์
-Single Window System รวมทุกอย่างในหน้าเดียว แบบฟอร์มขอทุนเดียวกันทุกแหล่งทุน เป็น one stop service

Monday, October 28, 2013

วิจัยเรื่องอะไรดี? ...เขียนโครงการวิจัยอย่างไร จึงได้ทุน


โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ปราณี กุลละวณิชย์
ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา (พ.ศ. 2556-)
ทุนวิจัยกับการเลือกสมัครรับทุน
ให้ศึกษาเป้าประสงค์ของทุน
-การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า(เรื่องลิขสิทธิ์การเผยแพร่ผลงานวิจัย
-ผลวิจัยที่เป็นประโยชน์ใช้ได้จริง
-ผลวิจัยที่เป็นประโยชน์ใช้ได้จริงในวงกว้าง
-ผลวิจัยของตีพิมพ์ในวารสาร
รูปแบบผลของการวิจัย
-รายงานการวิจัย(Research Report) ต้องมีการเผยแพร่ในวารสารด้วย
-บทความวิัจัย(Article) ส่วนใหญ่เป็นสายวิทยาศาสตร์ ไม่ต้องเขียนรายงาน แต่ต้องเขียนย่อสรุปกระบวนการวิจัย
การเผยแพร่ผลการวิจัย
-ในวารสารสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์
-ในหนังสือรวมบทความ(Monographs)
-ในเอกสารประมวลผลการประชุมทางวิชาการ(proceeding)
รูปแบบโครงการที่เสนอขอรับทุน
เป็นไปตามประกาศของผู้ให้ทุน

-ความเป็นมาของปัญหา/ประเด็นปัญหา(ทำไมผู้วิจัยจึงสนใจปัญหานี้ ศึกษาวิจัยแล้วได้อะไร
-ทบทวนวรรณกรรมเบื้องต้น(เหตุผลที่จะต้องศึกษา)
-วัตถุประสงค์ของการวิจัย
-คำถาม/สมมติฐานของการวิจัย
-ขอบเขตการวิจัย
-ข้อมูลที่จะใช้ในการศึกษาวิจัย
-วิธีดำเนินการวิจัย ทฤษฎีที่ใช้ เครื่องมือที่ใช้
-ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ตารางเวลาในการดำเนินงาน
-งบประมาณ
-ประโยชน์
-Reference เอกสารอ้างอิง
-ประวัติการทำงานของผู้วิจัย

การตัดสินทุนวิจัย
-ตอบเป้าประสงค์ของทุนหรือไม่
-ความชัดเจนของหัวข้อวิจัย(โจทย์) ประเด็นปัญหา)
-ชื่อเรื่องวิจัย
-วัตถุประสงค์
-สมมติฐาน
-แนวทางวิจัย
-ความเป็นไปได้
-ความรู้ของผู้วิจัย ประสบการณ์ในการวิจัยของผู้วิจัย
-เวลาของผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย
-เวลาของโครงการ
-ขอบเขตของโครงการ

แนวทางงานวิจัยทางทัศนศิลป์:สร้างวิชาการงานศิลป์ ของวช.
กรอบการวิจัย
1.การวิจัยเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปกรรมเชิงวิชาการ
2.การศึกษาผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมในอดีตที่ทรงคุณค่า
3.การรวบรวมผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมอย่างมีระบบ พร้อมองค์ความรู้
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เกิดผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมแขนงต่างๆ
2. เพื่อรวบรวมข้อมูลในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม
3. เพื่อจัดระบบข้อมูลผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปกรรม
ผลผลิต
1. ทำให้เกิดผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมสาขาต่างๆ
2. ทำให้เกิดการแสดงผลงานศิลปกรรมต่อสาธารณชนในรูปแบบต่างๆ
3. ทำให้เกิดศิลปินชั้นนำสาขาต่างๆ ซึ่งจะพัฒนาเป็นบุคลากรหลักในวงการศิลปกรรมต่อไป

สรุปประเด็นปัญหาในการทำวิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

โดย ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ

ปัญหา/ข้ออ้างที่พบ 
-ไม่ชอบ ไม่สนใจ ไม่เห็นความจำเป็น
-สนใจ แต่ไม่มีเวลา เพราะสอนและบริการวิชาการอย่างหนัก
-อยากทำ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร -ไม่มีทุนวิจัยที่เพียงพอ/ไม่อยากขอทุนเพราะกลัว ภาระ -พยายามทำ แต่ไม่มีคุณภาพ(ข้อเสนอโครงการ ผลงาน)
-ไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างเหมาะสม
ที่มาของปัญหา
-ธรรมชาติของการวิจัยในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ค่อนข้างเป็นนามธรรม ไม่มีกรอบที่ชัดเจนเหมือนทางสาขาวิทยาศาสตร์ มีคำตอบที่หลากหลาย หาข้อสรุปได้ยาก
-ธรรมชาติของบุคลากรในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
-เป็นนักคิดและนักฝันมากกว่านักทำ
-ชอบจินตนาการแบบเลิศหรูแต่ไร้ระเบียบ
-นิยมความพอเพียงด้านวิชาการมากกว่าการแสวงหาอย่างต่อเนื่อง
-มีความเป็นปัจเจกบุคคลสูง
-ภูมิใจและหลงตัวเองกับความเป็นคุณครูสุดประเสริฐ
-นิยมเขียนตำรามากกว่าทำวิจัย
-สภาพและบรรยากาศไม่เอื้ออำนวย
-อาจารย์ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างและสร้างสังคมการวิจัย ให้ตัวอย่างที่ดี
-ขาดตัวอย่างและที่พึ่งทางวิชาการที่ดี ทางแก้-อาจารย์ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างและสร้างสังคมการวิจัย ให้ตัวอย่างที่ดี
-อยู่นอกกระแสการวิจัย ควรหมั่นอยู่ในแวดวงวิจัย
-ขาดระบบการบริหารจัดการด้านกิจการวิจัยที่ดีพอ
-ขาดปัจจัยเกื้อหนุนด้านต่างๆที่จำเป็น
-กฏระเบียบการวิจัยไม่เอื้อต่อสาขาวิชา การแก้ปัญหาระดับหน่วยงาน
-ปรับกฏระเบียบให้เหมาะสมกับลักษณะการวิจัย(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
-การจัดสัดส่วนภาระงานด้านการสอนและการวิจัยให้เหมาะสม
-จัดตั้งหน่วย/กลุ่มช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพหลายระดับ(กัลยาณมิตร)
-ส่งเสริมความรู้ด้านการวิจัยอย่างต่อเนื่องและเจาะลึกด้านเนื้อหา
-สนับสนุนการวิจัยแบบกลุ่มวิจัย มีหัวหน้าโครงการ/ผู้ประสานงานที่เข้มแข็ง เช่นแจก ประเด็นไทยศึกษาด้าน….แบ่งกันไปคนละหัวเรื่องที่แตกต่าง เป็นวิจัยกลุ่ม/ชุด รับผิดชอบแบบ 100%
-มีการกำกับดูแล ประเมิน และติดตามอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ(กัลยาณมิตร) จันทรเกษม ….ใครพร้อมที่จะเป็นพ่อไก่แม่ไก่ ยกมือขึ้น…..
-จัดเวทีให้นำเสนอรายงานความก้าวหน้าและผลงานวิจัยเป็นการภายใน
-จัดทำระบบเบิกจ่ายเงินทุนวิจัยที่คล่องตัวและระบบรายงานการเงิน
-สร้างขวัญและกำลังใจ โดยจัดสรรรางวัลและประกาศเกียรติคุณประจำปี ตามเงื่อนไขการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติหรือเป็นที่ยอมรับ
กระตุ้นและสร้างความพร้อมระดับหน่วยงาน
-สร้างความเชื่อมโยงกับเครือข่ายวิจัยภายนอก
-เชิญแหล่งเงินทุนระดับชาติมาประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลเชิงลึก
-จัดทำคู่มือแหล่งเงินทุนและข้อกำหนดต่างๆของแต่ละแหล่งเงินทุน
-ประชาสัมพันธ์เพื่่อกระตุ้นเตือนเป็นระยะๆอย่างสม่ำเสมอ
สร้างความพร้อมระดับบุคคล -สร้างความตระหนักในหน้าที่การเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยตามภารกิจ
-สร้างนิสัยช่างสังเกต
-สร้างนิสัยถาม คำถามประเภท ทำไม
-สร้างนิสัยคิดและทำอย่างเป็นระบบ
-สร้างนิสัยตรงต่อเวลาและความสามารถในการจัดเวลา
-สร้างนิสัยการทำงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
-สำรวจความสนใจที่แท้จริงของตนเอง(วิชาการ)
-แสวงหากัลยาณมิตรด้านวิจัย
-สร้างความกล้าที่จะขอทุนวิจัย
-สร้างความกล้าและอดทนสำหรับการวิพากษ์วิจารณ์
-เรียนรู้เรื่องสถิติ การนำเสนอด้วยตาราง(Table)และภาพ
-เรียนรู้การสืบค้นข้อมูลออนไลน์และการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต
ทำอะไรบ้างก่อนขอทุน

-ทำแผนที่ความคิด/ลายแทงแสดงลำดับงาน(Mapping)
-เขียนข้อเสนอแนวคิด(Concept Paper)
-เขียนข้อเสนอโครงการเต็มรูป(Full Paper)
-ร่วมประชุมนำเสนอโครงการ(Oral Presentation)
ทำอะไรบ้างหลังได้ทุน
-เปิดบัญชีออมทรัพย์ของโครงการ
-ทำสัญญารับทุนกับเจ้าของทุน
-ร่วมกิจกรรมของหน่วยงานผู้ให้ทุน
-ดำเนินการวิจัยตามที่เสนอไว้อย่างซื่อสัตย์
-จัดทำรายงานความก้าวหน้าและรายงานการเงินตามงวดเงิน
-จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์และรายงานการเงินตลอดโครงการ
ทำอะไรบ้างเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย
-เขียนเป็นหนังสือและพ/หรือบทความวิจัย(วิชาการ)
-เขียนบทความวิชาการและ/หรือคอลัมน์(ประชาสัมพันธ์)
-นำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับชาติและ/หรือนานาชาติ
-ทำ powerpoint/handout/oral presentation)
-ทำโปสเตอร์ตามข้อกำหนดของผู้จัด(poster presentation)
-ซ้อมการนำเสนอเนื้อหาและการควบคุมเวลา

"องค์ความรู้ใหม่คือ ทอง ของนักวิจัย"

Thursday, October 24, 2013

กำหนดจัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง พัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1

ฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กำหนดจัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง พัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1 ในระหว่างวันที่ 28-30 ตุลาคม 2556 เปลี่ยนสถานที่ไปจัดที่ ห้องประชุมพิมานจันทร์ ชั้น 12 อาคารสำนักงานอธิการบดี ผู้เข้าอบรมในครั้งนี้คืออาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่มีอายุงานช่วงระหว่าง 2 ปี รวมกว่า 45 คน โดยมีวิทยากรจากและผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์มาให้ความรู้และร่วมทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ให้ผู้เข้าอบรมได้เพิ่มความรู้และทักษะการทำวิจัย อาทิ รศ.ดร.อรพินทร์ พิทักษ์มหาเกตุ จากมหิดล ศาสตราจทารย์ ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ จากจุฬา ศาสตราจารย์ดร.ปราณี กุลละวณิชย์ ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาปรัชญา และท่านรองกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรให้แก่อาจารย์ผู้เข้าสัมมนา

กำหนดการอบรม
โครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัย “นักวิจัยรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1”
วันที่ 28 – 30 ตุลาคม 2556 ณ ห้องประชุมพิมานจันทร์ ชั้น 12 อาคารสำนักงานอธิการบดี
มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
วันที่ 28 ตุลาคม 2556
08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 09.30 น. พิธีเปิดโครงการ
กล่าวรายงานโครงการ โดย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กล่าวเปิดงาน โดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
09.30 – 10.15 น. สถิตสำหรับการวิจัย โดย รศ.ดร.อรพินทร์ พิทักษ์มหาเกตุ จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
10.15 – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 – 12.00 น. สถิตสำหรับการวิจัย โดย รศ.ดร.อรพินทร์ พิทักษ์มหาเกตุ จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 15.00 น. ปัญหาในการทำงานวิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
โดย ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ จาก ภาควิชาภาษาศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.30 น. ปัญหาในการทำงานวิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
โดย ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ จาก ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ 29 ตุลาคม 2556
08.30 – 10.15 น. “วิธีการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้รับทุนวิจัย”
โดย ศ.ดร.ปราณี กุลละวณิชย์ ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา
10.15 – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 – 12.00 น. “วิธีการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้รับทุนวิจัย” ต่อ
โดย ศ.ดร.ปราณี กุลละวณิชย์ ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาปรัชญา
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 15.00 น. ผู้เข้าอบรมทดลองเขียนเสนอโครงการวิจัย (research project)
พร้อมซักถามปัญหาในการจัดทำกับวิทยากร โดย ศ.กิตติคุณ ดร.ปราณี กุลละวณิชย์
ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา
15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.30 น. ผู้เข้าอบรมนำเสนอโครงการวิจัย (research project) และรับคำแนะนำ
จากศ.ดร.ปราณี กุลละวณิชย์ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา
วันที่ 30 ตุลาคม 2556
08.30 – 10.15 น. “นโยบายและระบบการวิจัยของประเทศ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” (ต่อ)
โดย นายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
10.15 – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 – 12.00 น. “นโยบายและระบบการวิจัยของประเทศ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์”(ต่อ)
โดย นายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 15.00 น. การใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้งานวิจัย
โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร
15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.30 น. การใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้งานวิจัย (ต่อ)
โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร
16.30 – 17.30 น. พิธีมอบวุฒิบัตรและปิดการอบรม

Tuesday, September 17, 2013

แจ้งติดตามการประเมินการเรียนการสอนออนไล์ประจำภาคเรียนที่ 1/2556




เหลือเวลาอีก 13 วัน ก็จะปิดโหวตประเมินการสอนที่ http://humannet.chandra.ac.th/  แล้วครับท่าน คณาจารย์ทุกท่านต้องติดตามและกำกับนักศึกษาที่เรียนกับท่าน เรื่องการเข้ามีส่วนร่วมในการประเมินการสอนออนไลน์ของท่านด้วยนะครับ ท่านประธานแต่ละสาขาวิชาควรบอกต่อกัน หากต้องการทราบยอดว่ามีนักศึกษาเข้าประเมินแล้วเท่าใด สอบถามที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ เบอร์ภายใน 3055 ถามหรือแจ้งขอแชร์ดูข้อมูลวิชาของท่านเองทีประธานสาขาวิชาหรือแจ้งอีเมลส่วนตัวของ gmail.com ของท่านไปอีเมล์ human.chandra@gmail.com
---------------------------------
25/10/2556
แจ้งข่าวเรื่องการสรุปผลการประเมินการสอนออนไลน์ ภาคเรียนที่ 1/2556 ขณะนี้ได้รับแจ้งว่าทีมงานได้ดำเนินการเสร็จแล้ว กำลังจัดส่งไปยังท่าน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายวิชาการ หากท่านอยากได้คอมเม้นต์ไปประกอบ มคอ.5 ด้วยนั้น ให้แจ้งขอแชร์ไฟล์ไปที่ human.academic@gmail.com โดยแจ้งรหัสวิชา
- ด่วน การจัดส่งมคอ.3 และ 5 ประจำเทอมที่ 2/2556 มีแค่สาขาวิชาภาษาอังกฤษ กรุณารีบจัดส่งด่วนนะครับ จะเปิดเทอมใหม่แล้ว ส่งก่อนสิ้นเดือนนี้นะขอรับ ทางวิชาการแจ้งทวงถามไปนานแล้ว

Saturday, September 14, 2013

ขอเรียนเชิญท่านมีส่วนร่วมในการพิจารณาผลงานออกแบบฟ้่อนต์ เป็นการวิจัยประเภทสร้างสรรค์(Creative Research)และช่วยตอบแบบสอบถามการวิจัยออนไลน์

ฟ้อนต์ตระกุลซีอาร์ยู CRU Font Family[/caption] ขอเรียนเชิญท่านมีส่วนร่วมในการพิจารณาผลงานออกแบบฟ้่อนต์ เป็นการวิจัยประเภทสร้างสรรค์(Creative Research)และช่วยตอบแบบสอบถามการวิจัยออนไลน์ ที่ เว็บ http://cru-font.blogspot.com โดยการคลิกเข้าศึกษา พิจารณาผลงานภาพรวม ในแต่ละหน้า แล้วจึงคลิกเข้าทำแบบสำรวจ ที่หน้า http://cru-font.blogspot.com/p/survey.html  โดยโปรดกรุณาให้ข้อมูลที่เป็นจริง ตอบแบบสำรวจให้ครบและส่ง-บันทึกตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ทั้งนี้นับตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2556 เวลา 12.00 น.ถึง วันที่ 17 กันยายน 2556 เวลา 12.00 น. เพื่อการประมวลผล วิเคราะห์และสรุปผลงาน รายงาน แล้วทำการเผยแพร่พัฒนาสู่สังคม ให้เกิดการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์จริงในลำดับต่อไป ขอขอบพระคุณในความร่วมมือจากท่านเป็นอย่างสูง ผู้วิจัย : ผู้ช่วยศ่าสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร อาจารย์-ข้าราชการประจำสาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กทม. 10900 ติดต่ออีเมลปัจจุบัน prachid007@gmail.com,prachid@thaifont.info , prachid@prachid.com , โทรศัพท์มือถือ: +66(0)896670091

Tuesday, July 16, 2013

congratulations 2013

ขอแสดงความยินดีกับบัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปี 2556 ทุกท่าน

Saturday, June 29, 2013

ผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอนวิชาออกแบบแอนิเมชั่น ภาคเรียนที่ 3/2555 ของสาขาวิชาศิลปกรรม โครงการแบ่งปันความรู้ร่วมกับทรูปลูกปัญญาดอตคอม

ผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอนวิชา Animation Design ARTI3322 ภาคเรียนที่ 3/2555 ตามแนวคิดของผู้สอนที่ได้ดำเนินการจัดการความรู้ตามแนวคิด สร้างสรรค์สิ่งรู้แบ่งสรรปันสู่ให้สังคมอุดมปัญญา โดยให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมจากการที่ได้สร้างสรรค์ผลงานเรียนเป็นกลุ่มสร้างงานแอนิเมชั่นเพื่อเป็นคลังความรู้ในระบบดิจิตัล กับโครงการแบ่งปันความรู้กับทรูปลูกปัญญา ผลงานผู้เรียนกลุ่ม aop aop เรื่อง life of frog และกลุ่มอื่นๆทั้ง 6 กลุ่มเมื่อเดือนพฤษภาคม 2556 ได้รับการยอมรับและจัดเก็บเข้าคลังความรู้ดิจิตัล โดยจัดให้เป็นสื่อการเรียนสำหรับเด็กชั้นประถมศึกษา เผยแพร่แบบ 24 x 7 ในระบบฐานข้อมูลของโครงการทรูปลูกปัญญา และผลงานเด่นของกลุ่ม aop aop นี้ หัวหน้ากลุ่มคือนางสาวภนิดาบุญมี ได้รับการสัมภาษณ์ลงนิตยสารออนไลน์ชื่อ Plook ฉบับที่ 31 ประจำเดือน กรกฏาคม 2556  หน้า 12 ได้ส่งต่อความภูมิใจให้กับผู้สอนคือ ผศ.ประชิดทิณบุตร ดังในภาพข่าว อาจารย์ขอชื่นชมกับความสำเร็จที่ได้รับครับ และขอให้พัฒนาตนเองและผลงานเพื่อวิชาชีพและมีจิตสาธารณะ โดยการรู้จักการแบ่งปันสิ่งที่สร้างสรรค์สิ่งรู้ให้สังคมอุดมปัญญากันต่อไป นักศึกษาที่จะเรียนเทอมหน้า ปีการศึกษาที่ 2/2556 ก็เตรียมไว้นะครับ เพราะเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ภาคบังคับใน มคอ 3.ของวิชานี้อยู่แล้ว

Tuesday, June 18, 2013

การประชุมหารือร่วมด้วยช่วยกันจัดการความรู้จากคณาจากทุกสาขาวิชาในคณะมนุษย์ศาสตร์ฯ มจษ.ครั้งที่1/2556

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2556 เวลา 13.30 น.ฝ่ายวิชาการและวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ได้เรียนเชิญคณาจารย์ร่วมระดมความคิดเห็นด้วยกัน โดยการจัดประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระดมสมองเรื่องกรอบและแนวทางคิดเพื่อวางแผนร่วมกันจัดการความรู้ โดยเริ่มจากการประกาศประเด็นหลัก ของการจัดการความรู้ (Knowledge Focus) ของทางมหาวิทยาลัย คือการจัดการความรู้ที่เน้นผู้เรียนเญป็นสำคั(Student Center)ว่าทางคณะฯ จะมีการตั้งประเด็นร่วมสนับสนุน เป็นแนวทางร่วมกันบริหารจัดการโครงการและกิจกรรมนี้ให้สอดรับกันได้อย่างไร  มีการนำเสนอตัวอย่างการดำเนินการจัดการความรู้ของผศ.ประชิดทิณบุตร สาขาวิชาศิลปกรรม พอเป็นสังเขป ซึ่งผลจากการร่วมหารือ ที่ประชุมมีมติว่าควรจะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมกันดำเนินงานจากทุกหลักสูตรสาขาวิชา ทั้ง 18 หลักสูตร ซึ่งจะได้นำประเด็นหารือเข้าสู่ที่ประชุมเสนอให้คณะผู้บริหาร(กรรมการบริหารคณะฯ) ช่วยกันตั้งประเด็น ประกาศและร่วมวางแผนกิจกรรม ให้สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ของคณะฯ อันจะนำไปสู่การปฏิบัติของสาขาวิชา > อาจารย์ผู้สอน > เจ้าหน้าที่สนับสนุน ให้เข้าใจตรงประเด็นกัน จนสามารถบังเกิดผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นั่นคือนักศึกษาและประชาชนทั่วไป ได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องอเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดี ให้เหมาะสมกับหลักการของวิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่ร่วมกันประกาศเอาไว้ แต่การที่จะต้องเป็นสถาบันแห่งการเรียนรู้นั้น เหล่าคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาทุกคนในองค์กร ต้องร่วมกันดำเนินการ ต้องให้ความสำคัญว่า เรา-ท่านนั้นจะทำให้สถานบันแห่งนี้ จะเป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้และบริการวิชาการที่บูรณาการองค์ความรู้และภูมิปัญญา ด้านภาษา ศิลปวัฒนธรรม การบริหารรัฐและชุมชนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีขีดความสามารถทางการแข่งขันระดับนานาชาติ ด้วยคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน ได้อย่างไร นัดประชุมครั้งหน้าสัปดาห์ที่ 3 เดือนกรกฎาคม 2556 นะครับ แล้วจะเรียนเชิญต่อไป

คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษาท่านใดอยากมีส่วนร่วมในการดำเนินงานก็เรียนเชิญได้ทุกท่าน โดยการคลิกที่ปุ่ม Join This Site เพื่อรับทราบข่าวสารทางอีเมลจากเว็บบล็อกแห่งนี้ทุกครั้งเมื่อมีการโพสต์ข่าวส่ารลงบล็อก และท่านใดต้องการร่วมเป็นผู้เขียนองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่กิจกรรมหรือโครงการที่ทำอยู่ ขอให้สมัครใช้อีเมลของ gmail.com เพื่อจะเรียนเชิญร่วมเป็นนักเขียน ร่วมบริหารจัดการความรู้และแบ่งปันสู่สังคมให้อุดมปัญญากันต่อไป ส่งแจ้งชื่อที่ human.academic@gmail.comหรือที่ prachid007@gmail.com นะครับ ก่อนอื่นต้องลองศึกษา ทดลองใช้ให้เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่ตัวท่านอย่างไรก่อน จากนั้นจึงจะเข้าสู่โหมดร่วมวงเสวนาหรือการแชร์การอบรมให้กันต่อไป โปรดคอยติดตาม

ประกาศสรุปว่าเมื่อนำเรือ่งเข้าสู่ที่ประชุมกรรมการประจำคณะฯ แล้วก็สรุปเรื่อง KM ออกมาว่าปีการศึกษา 2556นี้ ตกลงกันว่าจะเป็นหัวข้อเรื่องของ e-learning กันนะครับ แล้วจะเริ่มแต่งตั้งคณะกรรมการ เร่งทำโครงการงบประมาณและแผนงานกันต่อไป ช่วงนี้จะเริ่มจากการที่อาจารย์จอยากจะทำเป็น km กลุ่มย่อยไปพลางก่อน คือทำบล็อกประจำรายวิชา แล้วจะหาผู้ช่วยให้ที่คิดไว้คือ TA-KM ครับ


Tuesday, June 11, 2013

ยินดีต้อนรับสู่มหาวิทยาลัยของเรา ในปีการศึกษา 2556

ขอต้อนรับนักศึกษาใหม่เข้าสู่รั้วจันทรเกษม ในปีการศึกษา 2556 นี้ครับ ขอให้นักศึกษาที่ได้โอกาสเข้าศึกษาในสถาบันอันทรงเกียรตินี้ ได้ตักตวงความรู้และประสบการณ์ จากกระบวนการเรียนรู้ที่ครูอาจารย์และเจ้าหน้าที่ตั้งใจมอบให้แก่ท่าน สร้างให้ศิษย์ทุกคน เป็นคนเก่ง ดี มีความสุข ทั่วหน้ากันนะเอง

Wednesday, May 22, 2013

การอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาให้แก่บุคลากร ประจำปีการศึกษา 2555

ฝ่ายประกันคุณภาพ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จัดการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาให้แก่บุคลากร ประจำปีการศึกษา 2555 ณ ศูนย์การศึกษาการพัฒนาครู คณะศึกษาศาสตร์ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยมีผู้แทนจากทั้ง 17 สาขาหลักสูตรวิชามาร่วมกันทำงานอย่างตั้งมั่น พิธีเปิดโดยท่านคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไปเป็นเกียรติในพิธี ประมวลภาพกิจกรรมคลิกที่นี่

Saturday, May 18, 2013

อบรมอาจารย์ศิลปกรรม มจษ. ทักษะการใช้งานโปรแกรมประมวลผลกลุ่มเมฆ cloud computing tools

 โครงการถ่ายทอดประสบการณ์ ด้านการประยุกต์ใช้งานโปรแกรมระบบจัดการความรู้ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ทั้งผู้เรียนและผู้สอน ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการความรู้ ChandraOnline : จันทราออนไลน์ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการความรู้
โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะมนุษย์ศาสตร์ฯ ได้จัดอบรมอาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปกรรม มจษ เรื่องทักษะการใช้งานโปรแกรมประมวลผลกลุ่มเมฆ cloud computing tools เพื่อการจัดการความรู้อย่างพอเพียง ให้อาจารย์ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการเรียนรู้รองรับและสอดรับกับเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนแปลง แบบก้าวกระโดด โดยจัดขึ้นในวันที่ 15/5/2556 ห้องกราฟิก 2 อาคาร 32 ชั้น 5 เวลา 9.30 น-18.00 น. โดยมีอาจารย์เข้าร่วมฝึกอบรมจำนวน 7 ท่านโดยมีนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย วิชาเอกออกแบบนิเทศศิลป์ร่วมรับบทบาทในฐานะเป็นผู้ช่วยร่วมเรียนรู้ ตามที่เคยเรียนรู้จากวิทยากรมาก่อน

Tuesday, May 14, 2013

รายงานผลการดำเนินงานรายวิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์ (มคอ5)

รายงานผลการดำเนินงานรายวิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์(มคอ5)ภาคเรียนที่ 2/2555 ผู้สอน ผศ.ประชิด ทิณบุตร สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม

Thursday, April 18, 2013

Ginger's Proofreading Software – No More Grammar & Spelling Mistakes

ตัวช่วยสำหรับการตรวจสอบการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารหรือการพิมพ์ เช่นการสะกดคำ การใช้ไวยากรณ์ ใช้ตรวจสอบการพิมพ์ร่วมกับโปรแกรมสำนักงานทั่วไปได้ด้วย ที่สำคัญคือติดตั้งใช้งานได้ฟรี ทั้งพีซีและมือถือ มีคนโหลดใช้งานแล้วกว่า 5,000 ล้านครั้งแล้ว นักศึกษาหรือทุกท่านอาจารย์เองก็ควรมีไว้ใช้งาน จะได้ไม่พิมพ์ภาษาอังกฤษผิดพลาดและยังได้ฝึกฝนภาษาสากลไว้ประดับความมั่นใจในการใช้ชีวิตยุคนี้ได้อย่างสบายใจ ของดีนี้หาได้ จาก www.Gingersoftware.com ต่อไปเวลาตรวจคำผิดคงต้องคลิก Ginger It! เป็นแน่แท้

Saturday, April 13, 2013

รายงานการเดินทางไปปฏิบัติราชการศึกษาดูงานและเจรจาความร่วมมือตามข้อตกลงทางการจัดการศึกษา ทางวิชาการและแสวงหาความร่วมมือใหม่ กับสถานศึกษาในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

รายงานการเดินทางไปปฏิบัติราชการศึกษาดูงานและเจรจาความร่วมมือตามข้อตกลงทางการจัดการศึกษา ทางวิชาการและแสวงหาความร่วมมือใหม่ กับสถานศึกษาในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 19-26 มีนาคม 2556 โดย1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 สาขาวิชาศิลปกรรม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2. นายณรงค์ วามวาณิชย์ ที่ปรึกษาโครงการจัดการศึกษานักศึกษาจีน 3.นางสาววาสนา ดอนจันทร์ทอง ตำแหน่ง อาจารย์ สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจ 4.นางสาวธนิดา พิมทะโนทัย ตำแหน่ง อาจารย์ สาขาวิชาภาษาไทย

Sunday, March 17, 2013

พิธีมอบวุฒิบัตรแก่นักศึกษาจีน ที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทย ในโครงการจัดการศึกษานักศึกษาจีน ประจำปีการศึกษา 2555

Chandrakasem : Thai Language Course for Chinese Student : Diploma Ceremony on March 9, 2013 พิธีมอบวุฒิบัตรแก่นักศึกษาจีน ที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทย ในโครงการจัดการศึกษานักศึกษาจีน โครงการจัดการศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประจำปีการศึกษา 2555. จำนวนทั้งสิ้น 77 คน

Saturday, February 16, 2013

การพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ลานธรรมและส่วนพื้นที่แนวรั้วด้านหลังอาคาร 3และ3/1

คณะผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เข้าสำรวจตรวจการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ลานธรรมและส่วนพื้นที่แนวรั้วด้านหลังอาคาร 3และ3/1 เตรียมปูกระเบื้องและเตรียมสำรวจพื้นที่โครงการสวนสมุนไพร ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม.ด้วยงบประมาณล้านกว่าบาท

Friday, February 15, 2013

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาให้แก่นักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2555


ฝ่ายงานประกันคุณภาพการศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาให้แก่นักศึกษา" ประจำปีการศึกษา 2555 ในช่วงวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2556 ณ ห้องแสดงผลงานชั้นล่างอาคาร 28 หรือห้อง 2811 อาคาร 28 (ใต้อาคารเรียนรวมห้องกระจก ชั้น 1) โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 1-3 จากทุกสาขาหลักสูตร ร่วม 15 หลักสูตรเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ ร่วม 100 กว่าคน โดยมีอาจารย์ชนกานต์ สุวรรณทรัพย์และทีมงานจากคณะศึกษาศาสตร์ มาเป็นวิทยากรฝึกอบรมให้ความรู้แก่นักศึกษาในครั้งนี้

ฝ่ายกิจการนักศึกษาโดยสโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เลือกตั้งนายกสโมสรนักศึกษาใหม่



ฝ่ายกิจการนักศึกษาโดยสโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เลือกตั้งประธานหรือนายกสโมสรนักศึกษาคนใหม่ ในวันที่ 14 ก.พ. 2556 โดยมีนักศึกษาภายในคณะฯมาร่วมลงคะแนนเลือกตั้งร่วม 500 คน

การแสดงโขนผู้หญิง ตอนวิรุณจำบัง ของสาขาวิชานาฏศิลปฺและการแสดง


การแสดงโขนผู้หญิง ตอนวิรุณจำบัง ของนักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลปฺและการแสดง 14 ก.พ. 2556ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม ประสบความสำเร็จดีเป็นอย่างยิ่ง ประชาสัมพันธ์เป็นเยี่ยมก่อนการแสดงซ้อมการแสดง มีรายการผู้หญิงถึงผู้หญิง มาถ่ายทำเบื้องหลังการแสดงโขนผู้หญิงในครั้งนี้ด้วย

Wednesday, February 13, 2013

นักศึกษาสาขาวิชาศิลปกรรมและสาขาวิชาภาษาไทย รับรางวัล ชนะเลิศ ชมเชย และเกียรติบัตร จากงานโครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้แก้วน้ำส่วนตัว ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

นักศึกษาสาขาวิชาศิลปกรรมและสาขาวิชาภาษาไทย รับรางวัล ชนะเลิศ ชมเชย และเกียรติบัตร ในการประกวดสื่อสัญลักษณ์(Mascotและการประกวดคำขวัญของโครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้แก้วน้ำส่วนตัว ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 ณ บริเวณลานประชาสัมพันธ์

บรรยากาศและกิจกรรมวันมนุษย์วิชาการ 2555 วันที่ 13 กพ. 2556

บรรยากาศและกิจกรรมวันมนุษย์วิชาการ 2555 วันที่ 13 กพ. 2556

ผลการประกวดสื่อสัญลักษณ์(Mascot)โครงการรณรงค์การใช้แก้วน้ำประจำตัว นักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษย์ ฯ ได้รับรางวัลชนะเลิศพร้อมเกียรติบัตร


ผลการตัดสินสื่อสัญลักษณ์โครงการรณรงค์การใช้แก้วน้ำส่วนตัว
ประกาศผลการประกวดสื่อสัญลักษณ์(Mascot)โครงการรณรงค์การใช้แก้วน้ำประจำตัว มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปี 2556 มัผู้ส่งผลงานเข้าประกวดรวม 92 ผลงาน ผลการตัดสินจากคณะกรรมการ ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศที่ 1 ได้รับเงินรางวัล 4,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร เป็นผลงานของนายวิเชษฎ ของครบ นักศึกษาวิชาเอกออกแบบประยุกต์ศิลป์ ชั้นปีที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังตมศาสตร์ และรางวัลที่ 2 เป็นรางวัลชมเชยได้รับเงินรางวัล 1,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร ผลงานของนางสาวกานต์ธีรา คำปล้อง ชื่อผล งานน้องน้ำใส นักศึกษาวิชาเอกออกแบบนิเทศศิลป์ ชั้นปีที่ 5 คณะมนุษยศาสตร์และสังตมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และยังมีผู้ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลเกียรติบัตร อีก 12 คน โดยจะมีพิธีมอบรางวัล ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ื2556 นี้ เนื่องในงานวันรณรงค์การใช้แก้วน้ำส่วนตัว  โดยมีคณะกรรมการตัดสินจำนวน มี 5 ท่านคือ อ.นันทวรรณ อ.ประชิด อ.ไชยพันธ์ อ.อมร และ อ.แดน ดูภาพกิจกรรมการตัดสินเพิ่มเติมได้ที่ https://picasaweb.google.com/106859402467376205758/2556

Monday, February 11, 2013

งาน Gift on the Moon 2013:Retro Episode ของสาขาวิชาศิลปกรรม

บรรยากาศงานวันแรก-พิธีเปิดงาน-การมีส่วนร่วมในกิจกรรมเสริมหลักสูตรและเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพทางศิลปกรรม ประจำปีการศึกษา 2555 งาน Gift on the Moon 2013:Retro Episode ของสาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม. ณ บริเวณหน้าอาคาร 28-หอส้มตำ ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์และผลงานที่เกิดจากการบูรณาการการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของแต่ละชั้นปี ในศาสตร์สาระของหลักสูตรสาขาวิชาศิลปกรรม และเป็นหนึ่งในกิจกรรมของสัปดาห์มนุษย์วิชาการ ประจำปีการศึกษา 2555 ระยะเวลาจัดงาน 3 วัน ไปกระทั่งถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556

Friday, February 8, 2013

ศิลปกรรมสัมมนา 2555:สัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การเขียนภาพประกอบทางพฤษศาสตร์

สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิืทยาลัยราชภัฏจีนทรเกษม จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การเขียนภาพประกอบทางพฤษศาสตร์ โดยมีวิทยากรคือ อาจารย์วรภัทร กอบสันเทียะ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน มาบรรยายและสาธิต ณ อาคาร32 ชั้น2 (อาคารกิจการนักศึกษา) เวลา 13.00-16.30 น.งานนี้ศิลปกรรมปี 4 ออกแบบประยุกต์ศิลป์เป็นผู้ดำเนินการ ภายใต้การนิเทศของ ผศ.กรรัตน์ พ่วงพงษ์ งานสำเร็จลงด้วยดี และมีการจัดสัมมนาเป็นประจำทุกปีการศึกษาและจัดเข้าเป็นวาระ สาระและกิจกรรมหลักในสัปดาห์มนุษย์วิชาการ ในภาคเรียนที่ 2 ของทุกปี

Thursday, February 7, 2013

English Activity Day 2012

สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ฯจัดกิจกรรมเชิงบูรณาการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษและการใช้งานจริงกับกิจกรรมประจำปี " English Activity Day 2012 " ซึ่งได้รับการตอบรับจากมหาวิทยาลัยต่างๆเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้กว่า 16 สถาบัน ทั้งกิจกรรมการกล่าวสุนทรพจน์เป็นภาษาอังกฤษและการถามตอบคำถามภาษาอังกฤษ รวมทั้งเข้าร่วมชมการใช้ทักษาะทางภาษาอังกฤษผ่านละครและการแสดงในศาสตร์ต่างๆของนักศึกษาเอกภาษาอังกฤษทั้ง 4 ชั้นปี ณ ห้องประชุมชั้น 3 และชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา ดูภาพกิจกรรมได้ที่ http://humannet.chandra.ac.th

ศิลปกรรมสัมมนาทางวิชาการ : การบรรยายพิเศษเรื่องการเขียนภาพประกอบทางพฤษศาสตร์ ;วันที่ 8 กุมภาพันธ์

ศิลปกรรมสัมนา 2556 ศิลปกรรมสัมนา 2556 : สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิืทยาลัยราชภัฏจีนทรเกษม ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษเรื่องการเขียนภาพประกอบทางพฤษศาสตร์ โดย อาจารย์วรภัทร กอบสันเทียะ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตร ณ อาคาร32 ชั้น2 (อาคารกิจการนักศึกษา) เวลา 13.00-16.30 น. ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ งานนี้ศิลปกรรมปี 4 ออกแบบประยุกต์ศิลป์เป็นผู้ดำเนินการภายใต้การนิเทศของ ผศ.กรรัตน์ พ่วงพงษ์

นศ.ศิลปกรรม ออกแบบนิเทศศิลป์ ผ่านการพิจารณาคัดเลือกการนำเสนอแนวคิดโครงการการสร้างสรรค์สื่อใหม่เข้ารอบที่ 1 จากโครงการเด็กเฮ้ว ของ สสส.

เด็กเฮ้ว2556 ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาวิชาเอกออกแบบประยุกต์ศิลป์สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ชั้นปีที่ 3 ที่เรียนวิชาออกแบบภาพเคลื่อนไหว ได้ผ่านการพิจารณาคัดเลือกการนำเสนอแนวคิดโครงการการสร้างสรรค์สื่อใหม่เข้ารอบที่ 1 จากโครงการเด็กเฮ้ว ของ สสส. จำนวน 2 คน คือจุรารัตน์( inspire)และ ไตรรงค์ ประเภทสื่อใหม่สู้ๆนะครับ เห็นม๊ะอาจารย์ว่าแล้ว ว่าอย่าอยู่แต่ในกะลา และวันนี้โจทย์ชีวิตเริ่มเข้ามาแล้ว โอกาสมีต้องรีบสำแดงพลัง ทำให้ทลุความคิดสร้างสรรค์ที่วางไว้และให้ได้รับรางวัลมาฝากอาจารย์-มหาวิทยาลัยให้ได้ ให้เข้าปรึกษาอาจารย์และทีมงาน คู่ต่อสู้คือใครก็ดูชื่อสถาบันเอาเอง อย่าเกรง หากรู้ว่าเราก็เป็นศิษย์มีครู-อาจารย์เช่นกัน ดูที่ http://dekhealth.com/

Sunday, February 3, 2013

ประชุมผู้บริหารและประธานสาขาวิชาฯเพื่อเตรียมจัดงานวันมนุษย์วิชาการ ปีพ.ศ. 2556



เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 16.00 น. อ.ราเชนทร์ เหมือนชอบ คณะบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จัดประชุมผู้บริหารและประธานหลักสูตรเพื่อเตรียมจัดงานวันมนุษย์วิชาการ ปีพ.ศ. 2556 โดยได้กำหนดวันเวลาไว้เป็นเวลารวม  11 วัน ครั้งนี้จัดกันทั้งสัปดาห์ นับแต่ วันที่ 8-18 กุมภาพันธ์ โดยใช้ชื่องานในครั้งนี้ว่า สัปดาห์มนุษย์วิชาการ สานสัมพันธ์สังคม-วัฒนธรรมอาเซี่ยน โดยกิจกรรมหลักทางวิชาการและการแสดงจะมีขึ้นในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ที่บริเวณหน้าอาคาร 28 เริ่มจากวันที่ 8 ก.พ. คืองานสัมมนาทางวิชาการเรื่องการเขียนภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์ของสาขาวิชาศิลปกรรม วันที่ 11- 13 งานกิจกรรมแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อันเกิดจากการเรียนรู้ในวิชาชีพ Gift on The Moon ของสาขาวิชาศิลปกรรม และในวันที่ 13 ก็จะเป็นการจัดเสวนาระดับนานาชาติในอาเซี่ยน วันที่ 14 กุมภาพันธ์ การแสดงโขนผู้หญิง ของสาขาวิชานาฎศิลป์และการแสดงและอื่นๆอีกมากมาย ที่เป็นทั้งสาระทางวิชาการและกิจกรรมของอาจารย์ นักศึกษา บุคลากรและเจ้าหน้าที่ ที่จัดสรรค์มาเพื่อสื่อแสดงให้เห็นถึงกิจกรรมและความเลื่อนไหวทางวิชาการที่มีต่อสาธารณชนทั้งภายในและภายนอกสถาบัน

Sunday, January 13, 2013

บรรยากาศการlสัมภาษณ์นักศึกษาใหม่ปีการศึกษา 2556 รอบ ที่ 1

บรรยากาศการรับนักศึกษาใหม่ปีการศึกษา 2556 รอบ ที่ 1 การสอบปฏิบัติและการสัมภาษณ์ผู้ที่สอบผ่านข้อเขียน ของสาขาวิชาต่างๆ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม. เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2556 ตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น ที่อาคารกาญจนาภิเษก และที่อาคารที่ตั้งทำการของสาขาวิชา โดยมีรายชื่อผู้สอบผ่านข้อเขียนเข้ารอบมาสัมภาษณ์ จำนวน 472 คน ซึ่งผลการสอบก็คงจะประกาศแจ้งไว้ที่ระบบe-admission ของมหาวิทยาลัยต่อไป
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...