Monday, October 28, 2013

สรุปประเด็นปัญหาในการทำวิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

โดย ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ

ปัญหา/ข้ออ้างที่พบ 
-ไม่ชอบ ไม่สนใจ ไม่เห็นความจำเป็น
-สนใจ แต่ไม่มีเวลา เพราะสอนและบริการวิชาการอย่างหนัก
-อยากทำ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร -ไม่มีทุนวิจัยที่เพียงพอ/ไม่อยากขอทุนเพราะกลัว ภาระ -พยายามทำ แต่ไม่มีคุณภาพ(ข้อเสนอโครงการ ผลงาน)
-ไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างเหมาะสม
ที่มาของปัญหา
-ธรรมชาติของการวิจัยในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ค่อนข้างเป็นนามธรรม ไม่มีกรอบที่ชัดเจนเหมือนทางสาขาวิทยาศาสตร์ มีคำตอบที่หลากหลาย หาข้อสรุปได้ยาก
-ธรรมชาติของบุคลากรในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
-เป็นนักคิดและนักฝันมากกว่านักทำ
-ชอบจินตนาการแบบเลิศหรูแต่ไร้ระเบียบ
-นิยมความพอเพียงด้านวิชาการมากกว่าการแสวงหาอย่างต่อเนื่อง
-มีความเป็นปัจเจกบุคคลสูง
-ภูมิใจและหลงตัวเองกับความเป็นคุณครูสุดประเสริฐ
-นิยมเขียนตำรามากกว่าทำวิจัย
-สภาพและบรรยากาศไม่เอื้ออำนวย
-อาจารย์ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างและสร้างสังคมการวิจัย ให้ตัวอย่างที่ดี
-ขาดตัวอย่างและที่พึ่งทางวิชาการที่ดี ทางแก้-อาจารย์ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างและสร้างสังคมการวิจัย ให้ตัวอย่างที่ดี
-อยู่นอกกระแสการวิจัย ควรหมั่นอยู่ในแวดวงวิจัย
-ขาดระบบการบริหารจัดการด้านกิจการวิจัยที่ดีพอ
-ขาดปัจจัยเกื้อหนุนด้านต่างๆที่จำเป็น
-กฏระเบียบการวิจัยไม่เอื้อต่อสาขาวิชา การแก้ปัญหาระดับหน่วยงาน
-ปรับกฏระเบียบให้เหมาะสมกับลักษณะการวิจัย(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
-การจัดสัดส่วนภาระงานด้านการสอนและการวิจัยให้เหมาะสม
-จัดตั้งหน่วย/กลุ่มช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพหลายระดับ(กัลยาณมิตร)
-ส่งเสริมความรู้ด้านการวิจัยอย่างต่อเนื่องและเจาะลึกด้านเนื้อหา
-สนับสนุนการวิจัยแบบกลุ่มวิจัย มีหัวหน้าโครงการ/ผู้ประสานงานที่เข้มแข็ง เช่นแจก ประเด็นไทยศึกษาด้าน….แบ่งกันไปคนละหัวเรื่องที่แตกต่าง เป็นวิจัยกลุ่ม/ชุด รับผิดชอบแบบ 100%
-มีการกำกับดูแล ประเมิน และติดตามอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ(กัลยาณมิตร) จันทรเกษม ….ใครพร้อมที่จะเป็นพ่อไก่แม่ไก่ ยกมือขึ้น…..
-จัดเวทีให้นำเสนอรายงานความก้าวหน้าและผลงานวิจัยเป็นการภายใน
-จัดทำระบบเบิกจ่ายเงินทุนวิจัยที่คล่องตัวและระบบรายงานการเงิน
-สร้างขวัญและกำลังใจ โดยจัดสรรรางวัลและประกาศเกียรติคุณประจำปี ตามเงื่อนไขการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติหรือเป็นที่ยอมรับ
กระตุ้นและสร้างความพร้อมระดับหน่วยงาน
-สร้างความเชื่อมโยงกับเครือข่ายวิจัยภายนอก
-เชิญแหล่งเงินทุนระดับชาติมาประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลเชิงลึก
-จัดทำคู่มือแหล่งเงินทุนและข้อกำหนดต่างๆของแต่ละแหล่งเงินทุน
-ประชาสัมพันธ์เพื่่อกระตุ้นเตือนเป็นระยะๆอย่างสม่ำเสมอ
สร้างความพร้อมระดับบุคคล -สร้างความตระหนักในหน้าที่การเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยตามภารกิจ
-สร้างนิสัยช่างสังเกต
-สร้างนิสัยถาม คำถามประเภท ทำไม
-สร้างนิสัยคิดและทำอย่างเป็นระบบ
-สร้างนิสัยตรงต่อเวลาและความสามารถในการจัดเวลา
-สร้างนิสัยการทำงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
-สำรวจความสนใจที่แท้จริงของตนเอง(วิชาการ)
-แสวงหากัลยาณมิตรด้านวิจัย
-สร้างความกล้าที่จะขอทุนวิจัย
-สร้างความกล้าและอดทนสำหรับการวิพากษ์วิจารณ์
-เรียนรู้เรื่องสถิติ การนำเสนอด้วยตาราง(Table)และภาพ
-เรียนรู้การสืบค้นข้อมูลออนไลน์และการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต
ทำอะไรบ้างก่อนขอทุน

-ทำแผนที่ความคิด/ลายแทงแสดงลำดับงาน(Mapping)
-เขียนข้อเสนอแนวคิด(Concept Paper)
-เขียนข้อเสนอโครงการเต็มรูป(Full Paper)
-ร่วมประชุมนำเสนอโครงการ(Oral Presentation)
ทำอะไรบ้างหลังได้ทุน
-เปิดบัญชีออมทรัพย์ของโครงการ
-ทำสัญญารับทุนกับเจ้าของทุน
-ร่วมกิจกรรมของหน่วยงานผู้ให้ทุน
-ดำเนินการวิจัยตามที่เสนอไว้อย่างซื่อสัตย์
-จัดทำรายงานความก้าวหน้าและรายงานการเงินตามงวดเงิน
-จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์และรายงานการเงินตลอดโครงการ
ทำอะไรบ้างเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย
-เขียนเป็นหนังสือและพ/หรือบทความวิจัย(วิชาการ)
-เขียนบทความวิชาการและ/หรือคอลัมน์(ประชาสัมพันธ์)
-นำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับชาติและ/หรือนานาชาติ
-ทำ powerpoint/handout/oral presentation)
-ทำโปสเตอร์ตามข้อกำหนดของผู้จัด(poster presentation)
-ซ้อมการนำเสนอเนื้อหาและการควบคุมเวลา

"องค์ความรู้ใหม่คือ ทอง ของนักวิจัย"

No comments:

Post a Comment

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...